รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาตามความต้องการของนักศึกษาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การวิจัยและการพัฒนา |
2. | การประเมินความต้องการจำเป็น |
3. | ระบบสารสนเทศทางการศึกษา |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการใช้บริการสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษา 2) วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุของความต้องการจำเป็นในการใช้บริการสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษา 3) วิเคราะห์ศักยภาพของสถาบันในการให้บริการสารสนเทศทางการศึกษาแก่นักศึกษาบนฐานขององค์ประกอบความต้องการจำเป็น และ 4) พัฒนาระบบการให้บริการสารสนเทศทางการศึกษาตามความต้องการจำเป็นแก่นักศึกษา และศักยภาพของสถาบัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2553 ใน วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประเมินความต้องการจำเป็นในการใช้บริการสารสนเทศทางการศึกษาประกอบด้วย ระบบงานทะเบียนออนไลน์ ระบบสนับสนุนวิชาการ ระบบห้องสมุด ระบบบริการวิชาชีพ และระบบการเงินและทุนการศึกษา เครื่องมือที่ให้ในการเก็บข้อมูลคือการสัมภาษณ์และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประค่า 5 ระดับ และระยะที่ 2 พัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาตามความต้องการจำเป็นของนักศึกษา โดยสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาทดลองใช้และสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้บริการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุ (MANOVA) และใช้ดัชนีจัดลำดับความสำคัญของความต้องการ (Priority Needs Index : PNImodified) ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการใช้บริการสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษา มีความต้องการจำเป็นในระบบบริการวิชาชีพมากที่สุด และระบบที่มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด คือ ระบบการเงินและทันการศึกษา 2) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุของความต้องการจำเป็นในการใช้บริการสารสนเทศทางการศึกษา เปรียบเทียบตามข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษาไม่แตกต่างกัน 3) ศักยภาพการให้บริการสารสนเทศทางการศึกษา ผู้บริหารมีนโยบายโดยคำนึงถึงความพร้อมทางด้านอุปกรณ์สำหรับการใช้งานและการใช้บริการนักศึกษา ตลอดจนความสามารถของนักศึกษาในการใช้งานระบบสารสนเทศที่มีอยู่ และมีการพัฒนาระบบการให้บริการนักศึกษาออนไลน์ตามแนวนโยบายของวิทยาลัยที่จะพัฒนาให้มีการใช้ระบบ Information and Communication Technology : ICT มากขึ้น และ 4) ผลการพัฒนาระบบการให้บริการสารสนเทศทางการศึกษา พบว่า มีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพึงพอใจสูงสุดด้านการใช้งาน รองลงมาเป็นด้านข้อมูลสารสนเทศและด้านการออกแบบการใช้งาน ตามลำดับ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)