รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ZHANG QING LING
2.สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.วิชาภาษาจีน
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยด้านครอบครัว ด้านตัวนักเรียน ด้านโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ภายในครอบครัว ตัวนักเรียน และโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน รวมทั้งสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนจากตัวแปรกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านครอบครัว พบว่า รายได้ของผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 10,001 – 15,000 บาท การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านตัวนักเรียน พบว่า เจตคติต่อวิชาภาษาจีน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อวิชาภาษาจีนอยู่ในระดับมาก และความรู้พื้นฐานของภาษาจีนส่วนใหญ่มีเกรดอยู่ระหว่าง 0 – 1.00 ปัจจัยด้านโรงเรียน พบว่า คุณภาพการสอนของครูสอนภาษาจีน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เรียนภาษาจีน และความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 0-1.00 2. ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ภายในครอบครัว ตัวนักเรียน และโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน พบว่า เจตคติต่อวิชาภาษาจีน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อวิชาภาษาจีน ความรู้พื้นฐานของภาษาจีน คุณภาพการสอนของครูสอนภาษาจีน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เรียนภาษาจีน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.5) ส่วนรายได้ของผู้ปกครองนักเรียนที่เรียนภาษาจีนการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองที่เรียนภาษาจีนและความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน คือ ความรู้พื้นฐานของภาษาจีนปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เรียนภาษาจีน สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนได้ร้อยละ 36.40 เขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ý = -.318 + 0.613 ความรู้พื้นฐานของภาษาจีน (X5) + 0.270 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เรียนภาษาจีน (X7) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.554 ความรู้พื้นฐานของภาษาจีน (X5) + 0.156 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เรียนที่เรียนภาษาจีน (X7)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม
ปีที่ 9
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 66-79
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-2693
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)