รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
โมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
ชื่อเรื่องรอง |
A CAUSAL MODEL OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS’DROPOUT UNDER THE JURISDICTION OF THE OFFICE OF BASIC EDUCATIONAL COMMISSION
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | อภิชาติ เลนะนันท์ |
2. | คุณวุฒิ คนฉลาด |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | โมเดลเชิงสาเหตุ/การออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกรอบแนวคิดที่บูรณาการจากแนวคิดของ ทินโต (Tinto,1975,p.91) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของ มุนโร (Munro,1981,p.133) แอสติน (Astin,1984,p.300) และเคอร์รี่ (Curry,2001,p.3) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่ออกกลางคัน ในปี 2007-2008 จำนวน 200 คน จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เชียงใหม่ อุดรธานี กำแพงเพชร และสตูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างจาก ตัวแปรในการวิจัย ประกอบด้วยสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความคาดหวังของผู้ปกครองการบูรณาการทางวิชาการ การบูรณาการทางสังคม ความผูกพันกับเป้าประสงค์ และความผูกพันกับสถาบัน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยปรากฏว่าโมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า ไค-สแควร์ เท่ากับ 6.81 ที่องศาอิสระเท่ากับ 12 มีค่าความน่าจะเป็น เท่ากับ .87 ดัชนี GFI เท่ากับ .99 ค่าดัชนี AGFI เท่ากับ .96 ค่าดัชนี CFI เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR =.02 และค่า RMSEA =.01 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการออกกลางคันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ความคาดหวังของผู้ปกครอง ความผูกพันกับสถาบัน การบูรณาการทางสังคง และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)