รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
แนวทางการดำเนินนโยบายการคลังหลังวิกฤตเศรษฐกิจ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
จากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นจากปัญหาของภาคการเงินในสหรัฐอเมริกา และได้ลุกลามไปยังประเทศต่างๆ จนกลาย
เป็นวิกฤตเศรษฐกิจในระดับโลก รัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ได้พยายามให้ความช่วยเหลือและใช้มาตรการต่างๆ ใน
การกระตุ้นระดับอุปสงค์รวมถึงให้การช่วยเหลือภาคการเงินซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานะการคลัง และภาระหนี้สาธารณะ ในหลายๆ ประเทศ
อันส่งผลให้เกิดความกังวลขึ้นจากหลายฝ่ายว่าความเสี่ยงต่อการสูญเสียของภาคสาธารณะที่เพิ่มขึ้นนี้ จะย้อนกลับมาส่งผลให้เกิดเป็น
วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหม่ในอนาคต ซึ่งจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากภาครัฐบาลของประเทศต่างๆ กลายเป็นผู้ประสบปัญหาทางการเงิน
เสียเอง
แม้ว่าในปัจจุบันจะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งในส่วนของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เห็นได้ชัด
จากการส่งออกและการจัดเก็บรายได้ภาษีจากฐานการบริโภคของรัฐบาลที่ดีขึ้นและอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างชัดเจน
แต่การยกเลิกมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้อาจจะยังเร็วเกินไป เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมือง
ที่ยังคงมีอยู่มาก รวมถึงปัญหาการระงับการลงทุนบริเวณมาบตาพุด ซึ่งอาจจะส่งผลให้ต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดีรัฐบาลควรกำหนดแนวทางในการดำเนินนโยบายการคลังในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจไว้
ก่อนเพื่อเป็นการวางแผนปรับตัวให้นโยบายการคลังกลับไปสู่ภาวะปกติ(Renormalization) โดยไม่ก่อให้เกิดภาระทางการคลังหรือภาระ
หนี้สาธารณะที่สูงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและผู้ประกอบการว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการ
รักษาความมั่นคงทางการคลังควบคู่ไปกับการดูแลภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)