รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Creative economy ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
พัฒนาการทุนนิยมเริ่มตั้งแต่ปีค.ศ.1800 ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคการผลิตในขั้นมูลฐาน จากวิธีการผลิตแบบอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน (Domestic System) หรือระบบจ่ายงานไปทำงานบ้าน (Putting – Out System) ซึ่งนายจ้างเป็นผู้ออกค่าวัตถุดิบให้ลูกจ้างนำไปทำการผลิตภายในครัวเรือนของลูกจ้างเอง โดยที่ลูกจ้างจะเป็นเจ้าของของเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต และได้รับค่าตอบแทนจากจำนวนการผลิตที่ตนผลิตขึ้นเป็นรายชิ้นกลายมาเป็นการผลิตในระบบโรงงาน (Factory System) ซึ่งลูกจ้างจะต้องเข้าทำงานในโรงงานแบบเช้าไปเย็นกลับ หรืออาจจะพักค้างอยู่ในบริเวณโรงงานนั้นเลยและจะได้ค่าจ้างเป็นรายวัน โดยนายจ้างจะเป็นนายทุนคือเป็นเจ้าของวัตถุดิบที่ใช้และเป็นเจ้าของทุนและเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นทำให้วิถีการผลิตแบบเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์สูญหายไป การที่สินค้าแต่ละชิ้นถูกผลิตโดนเครื่องจักรทำให้นายทุนสามารถควบคุมปริมาณมากน้อยได้ตามต้องการ ชีวิตการทำงานของผู้ใช้แรงงานอยู่แบบแร้นแค้นสิ้นหวังอดทนเก็บเกี่ยวเม็ดเงินซึ่งเป็นค่าตอบแทนของการใช้แรงกายร่วมกับเครื่องจักร การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตชิ้นงานใหม่ไม่มีเพราะกำลังสมองถูกบั่นทอนไปกับปริมาณสินค้าที่ต้องผลิตตามเป้าหมายของนายทุน หลังจากนั้นเรื่อยมา ทุกๆประเทศก็ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยระบบโรงงานและวิถีการผลิตสินค้าที่มีต้นแบบเดียวกัน ไม่มีการสอดแทรกเพื่อต่อยอดแนวความคิดเดิมเพื่อให้ได้สิงค้าเชิงสรรค์สรรค์แต่อย่างใด แต่ในปัจจุบันหลายประเทศ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy ) มากขึ้น และประเทศไทยเองมีความพร้อมด้านทรัพยากรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเป็นเลิศในการต่อยอดแนวคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีการค้าโลกอย่างสง่าผ่าเผย
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)