รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง บทบาทและสภาพการณ์ของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ นิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy ) CNCTAD ได้ให้คำจำกัดความของ “เศรษฐกิจสรรค์สรรค์” (Creative economy ) คือระบบเศรษฐกิจที่สะท้อนถึงกระบวนการซึ่งรวมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกันและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน CNCTAD ยังได้ให้คำจำกัดความของ “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์” (Creative Industry) คือวงจรของการสร้างสรรค์ การผลิตและการจำหน่ายสินค้าและบริการที่ใช้ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เป็นปัจจัยการผลิตพื้นฐาน John Howkins เจ้าของผลงานหนังสือ Creative economy ชาวอังกฤษได้อธิบาย “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หมายถึง แนวคิดที่จะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อภาคการผลิต ภาคการบริการ ภาคการขาย รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมบันเทิง เป็นแนวคิดที่บนการทำงานแบบใหม่ ที่มีปัจจัยหลักมาจากความสามารถปละทักษะพิเศษของบุคคล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้นิยาม “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative economy) คือแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน Creativity และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร นักบริหาร
ปีที่ 30
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 18-22
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-4960
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)