รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง เศรษฐกิจใหม่ : เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับสังคมผู้ประกอบการ
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.เศรษฐกิจใหม่
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ปัจจุบันความเข้าใจเรื่อง “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative economy ) และ “สังคมผู้ประกอบการ “ (entrepreneurship) ในสังคมไทยเพิ่มขึ้นมากเป็นลำดับ แต่ดูเหมือนพลังการขับเคลื่อนที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ ยังไม่โดเด่นพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับเศรษฐกิจที่เคลื่อนไหวอยู่ในสังคมไทย ซึ่งอาจเกิดเหตุปัจจัยสำคัญบางประการ ประการแรก แนวคิดเรื่อง “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” และ “สังคมผู้ประกอบการ” ยังเป็นประเด็นใหม่ต่อการรับรู้ของสังคมในภาพรวม แม้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีการศึกษาแนวคิดดังกล่าวอย่างเป็นทางการตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษ 2540 ก็ตามแต่ผลการศึกษาดังกล่าวไม่ได้รับการบรรจุไว้ให้ชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ฉบับที่ 10 (ปี พ.ศ.2550-2554) ประการที่สอง ฐานระบบการศึกษาของประเทศไทยสร้างปฎิกิริยาเฉื่อยชาต่อการรับรู้โลกแวดล้อม จึงทำให้ไม่มีการปูพื้นฐานและไม่ให้ความสำคัญต่อประเด็นดังกล่าวเลย โดยเฉพาะประเด็นการสร้างสังคมผู้ประกอบการ ระบบการศึกษาไทยยังมุ่งสร้างคนเข้าสู่สังคมแรงงานเหมือนศตวรรษที่ผ่านมาโดยยังขาดทิศทางในการสร้างสังคมผู้ประกอบการในขณะที่มโนทัศน์ทางการศึกษายังสร้างวาทกรรมอำพรางสำทับลงไปอีกว่า “จบการศึกษาเพื่อนไปเป็นเจ้าคนนายคน” (ทั้งที่จริงแล้วคือการเป็นลูกจ้างในองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน) ที่น่าวิตกยิ่งกว่านั้นคือ ความก้าวหน้าของการศึกษาไทยยุคปฏิรูป ยังคงย่ำวนอยู่กับความก้าวหน้าตามแนวทางประชานิยมอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ประการที่สาม ความเคลื่อนไหวโดยรวมของเศรษฐกิจไทย ยังอยู่ภายใต้แรงกดดันของระบบพาณิชย์นิยมใหม่ (neo mercantilism) ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสร้างสรรค์และการปรับตัวเปลี่ยนแปลง ทั้งยังหมักหมมวัฒนธรรมด้านลบไว้มาก อาจกล่าวได้ว่า ระบบที่ขับเคลื่อนอยู่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังขับเคลื่อนที่ก้าวหน้าตามโครงการเศรษฐกิจยุคใหม่ที่กำลังปรับตัวเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ ยุทธศาสตร์การแข่งขันใหม่ ตลอดจนการพัฒนาทิศทางความมั่งคั่งและความมั่นคงของสังคมเศรษฐกิจใหม่ การปรับตัวเปลี่ยนผ่านจึงเกิดขึ้นได้ช้าและมาด้วยอุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะปัญหาที่ซึมซับไว้กับกฎระเบียบของระบบราชการ ประการที่สี่ พัฒนาการทางเศรษฐกิจใหม่ในสังคมมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และมีการแข่งขัน ดังนั้นแม้จะพบว่าคนไทยมีพื้นฐานเชิงบวก มีความได้เปรียบเป็นต้นทุน ในทิศทางการเติบโตของโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ แต่หากระบบสนับสนุน (Support)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร นักบริหาร
ปีที่ 30
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 13-17
ปีพิมพ์
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-4960
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)