รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การแข่งขันทางธุรกิจ
|
ชื่อเรื่องรอง |
Business Competition
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การแข่งขันทางการค้า |
2. | การจัดการธุรกิจ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การแข่งขันหรือการชิงชัยกันทางธุรกิจนับได้ว่าเป็นแก่นแท้ที่แสดงให้เห็นถึง “ความสำเร็จ” หรือ “ความล้มเหลว” ในการบริหารจัดการและการดำเนินงานของธุรกิจของเราเปรียบเทียบกับธุรกิจคู่แข่งขันอื่นๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน โดยการวัดและประเมินผลการบริหารจัดการและการดำเนินงานจากปัจจัยต่างๆ เช่น ผลจากการใช้ทรัพย์สินในการลงทุน สามารถสร้างยอดขายได้เป็นอัตราร้อยละของการบริโภคมวลรวมในสินค้าและ/หรือบริการที่ธุรกิจนำออกจำหน่ายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเปรียบเทียบกันด้วยตรายี่ห้อหรือชื่อบริษัท นั่นก็คือ ชิงชัยกันด้วย “ส่วนครองตลาด” (Market Share) ถ้าตรายี่ห้อหรือชื่อบริษัทใดมีส่วนครองตลาดในอัตราร้อยละสูงกว่าธุรกิจของคู่แข่งขันอื่นๆ ก็จะได้ชื่อว่า กิจการนั้นมีส่วนครองตลาดสูงสุด ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้นำตลาด (Market Leader) นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอื่นๆ ของธุรกิจที่เป็นปัจจัยในการวัดและประเมินผล เช่น ความสามารถในการบริหารจัดการ ผลของการดำเนินงาน ความสามารถในการทำกำไร ความสามารถในการบริหารสภาพคล่อง ความสามารถในการขยายกิจการ เป็นต้น แต่ทั้งนี้จะต้องมีองค์ประกอบอื่นและปัจจัยอื่นๆ ที่อาจต้องนำมาประเมินผลด้วย ฉะนั้นการแข่งขันและการชิงชัยในความเป็นผู้นำตลาดจึงตัดสินกันด้วยกิจกรรมที่ธุรกิจกำหนดขึ้นอย่างมีเป้าหมายของกิจการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น การวางแผนธุรกิจ แผนกลยุทธ์ การปรับปรุง-พัฒนา-ปฏิรูปองค์กร การปรับปรุง-พัฒนา-ปฏิรูปผลิตภัณฑ์ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จึงเป็นที่มาของการแสดงให้เห็นผลว่า มีความสามารถในการทำกำไร มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีความสามารถในการบริหารบุคลากรให้มีคุณภาพ ฯลฯ อันเป็นที่มาของการแสดงถึงความสามารถในการสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการบริหารจัดการ และการดำเนินงานของธุรกิจอย่างมีคุณภาพ แสดงให้เห็นถึง “ความสำเร็จ” ในการแข่งขันทางธุรกิจ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)