รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ธุรกิจโรงเรียนแบรนด์ไทย แข่งขันอย่างไรจึงได้เปรียบ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | โรงเรียน -- การบริหาร -- ไทย |
2. | ธุรกิจการศึกษา -- ไทย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจโรงเรียนสำหรับเด็กเปิดตัวเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ดังๆของไทยและแบรนด์ดังจากต่างประเทศ ต่างดาหน้าตบเท้าเข้าสู่ตลาดการศึกษาเพื่อแย่งชิงเค้กก้อนโต เช่น โรงเรียนสอนเสริมพิเศษ KUMON โรงเรียนสอนภาษา Fast English โรงเรียนสอนดนตรี KPN โรงเรียนสอนกีฬา และอื่นๆ กลุ่มเป้าหมายหลักของโรงเรียนเหล่านี้ ได้แก่ กลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี
ผลกระทบของการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นของโรงเรียนแบรนด์ดังๆ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างประเทศสวมบทเจ้าบุญทุ่มใช้งบโฆษณาเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นบิลบอร์ดที่พบเห็นได้ทั่วไป และนิตยาสารปกดังๆ ที่ค่าโฆษณาแพงๆ เพื่อเข้าสู่กลุ่มเป้าหมาย การทุ่มงบโฆษณาแบบนี้ย่อมส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการรายเล็กที่แบรนด์เนมไม่ดัง มีทุนน้อยต้องเร่งปรับตัว ผู้บริหารธุรกิจโรงเรียนสำหรับเด็กรานเล็กๆ ต้องหากลยุทธ์รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง เพื่อปรับตัวและหาจุดยืนในตลาดให้ได้ ส่วนท้ายของบทความนี้ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสอนเทนนิสพีวี ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนเทนนิสในร่ม และสถาบันสอนพิเศษติวเตอร์ดีดีดอทคอมซึ่งเป็นบริการสอนพิเศษที่บริการสอนถึงที่ติวถึงบ้าน ซึ่งธุรกิจทั้งสองเป็นธุรกิจแนวใหม่ที่นำแนวคิดจากต่างประเทศมาพัฒนาแล้วใส่แบรนด์ไทยๆ เพื่อสร้างจุดแตกต่างและสามารถแข่งขันกับแบรนด์เนมดังๆ โดยเน้นการบริหารแบบรักษาบริการที่มีคุณภาพแตกต่างจากคู่แข่งและควบคุมต้นทุนของตนเองให้ต่ำที่สุดตามทฤษฎีการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ที่ Prof.Michael E. Porter ได้นำเสนอไว้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)