รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ชื่อเรื่องรอง Know-ledge-Based Society
ชื่อผู้แต่ง
1.ชยาภรณ์ ธรรมโกวิท
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การบริหารองค์ความรู้
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ในยุคโลกาภิวัตน์อาจกล่าวได้ว่าทุกสังคมในโลกปัจจุบัน คือ “สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ หรือ Know-ledge-Based Society” ในมุมมองที่ว่า สังคมเหล่านี้ได้นำความรู้เข้ามาใช้ในกระบวนการพัฒนาสังคมและกระบวนการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แนวความคิดทางด้านสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ หรือ Know-ledge-Based Society ได้กล่าวถึงความรู้ (Knowledge) และสารสนเทศ (Information) ว่าเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อสาธารณชนทั่วโลก และเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนให้เกิดประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งช่วยเพิ่มพูนทรัพยากรทางการศึกษา ในการสร้างเศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Know-ledge-Based Society and Economy) ให้เกิดขึ้นได้นั้น คือ การทำให้สังคมหรือเศรษฐกิจหนึ่งๆ สามารถสร้างและรวบรวมความรู้ใหม่ๆ และสามารถเข้าถึง รับ แบ่งปัน และใช้สารสนเทศ ความรู้ ข้อมูล รวมถึงการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การที่มนุษย์จะดำรงอยู่และทำงานในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Know-ledge-Based Society) ได้ พวกเขาจำเป็นต้องเรียนรู้หรือเพิ่มพูนทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเตรียมตนเองให้พร้อมในสังคมดังกล่าว อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และการสร้างงานในระยะยาว สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ว่าในการสร้างความเข้มแข็งและเตรียมตนเองให้พร้อมที่จะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้นั้น จะต้องพัฒนาให้สังคมไทยและประชากรไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญามาพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า กลายเป็นสังคมที่พัฒนาแล้วในทุกด้าน เกิดความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพที่ดี โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT-Information and Communication Technology) ที่ทันสมัยเป็นแรงขับเคลื่อน ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ดังกล่าว ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ทั้งนี้หน่วยงานรัฐบาลจึงได้ร่วมกันวางรากฐานสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ด้วยการวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดขึ้น โดยเริ่มกำหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติฉบับแรก ที่รู้จักกันในชื่อ IT 2000 และเนื่องจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมโลกที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ Knowledge-Based Society ทำให้มีการจัดทำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะที่ 2 ขึ้น มีชื่อว่า IT 2010 ซึ่ง ดร.กษิติธร ภูภราดัย นักวิจัย ศูนย์วัตกรรมนโยบาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้กล่าวไว้ใน TELECOM Journal ว่า “แนวคิดพื้นฐานของนโยบาย IT 2010 คือการตระหนักถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก (Enabling Technology) ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น นโยบาย IT 2010 จึงเป็นนโยบายที่เน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างสังคมบนฐานความรู้ของประเทศไทย ในช่วงเวลา 10 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2544-2553 เพื่อให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล ในขณะเดียวกันเพื่อให้ประชาชนในสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร นักบริหาร
ปีที่ 25
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 27 –31
ปีพิมพ์ 2548
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-4960
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)