รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การบริหารความรู้
ชื่อเรื่องรอง Knowledge Management
ชื่อผู้แต่ง
1.ประเวศน์ มหารัตน์สกุล
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การบริหารองค์ความรู้
2.การเรียนรู้องค์การ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ความรู้ (Knowledge) หลายคนจะคิดทันทีว่าเป็นความรู้ที่เป็นทางการ เช่น ได้รับจากสถาบันการศึกษา การฝึกอบรมหรือการสัมมนา ส่วนความรู้ที่ไม่เป็นทางการ เช่น การได้รับความรู้จากการรับรู้ที่อยู่รอบตัวเรา (Perception) จากการบอกเล่าของบุคคลหรือสิ่งที่อยู่รอบข้าง เช่น การสั่งสอนของพ่อแม่ พระ นักบวช เพื่อน หรือจากสื่อต่างๆ เป็นต้น เราอาจแบ่งความรู้ได้เป็นสองลักษณะ คือ ความรู้เชิงทฤษฏี และความรู้เชิงปฏิบัติ ขออธิบายขยายความ ควารู้เชิงทฤษฏี หมายถึง ข้อความเชิงกฎที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากขึ้น ขอขยายความคำว่า กฎ กฎนั้นมักจะเป็นเรื่องที่ไม่ต้องการพิสูจน์เป็นที่เข้าใจ ของทุกคน ใกล้เคียงกับกฎทางธรรมชาติ เช่น พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ตกทางทิศตะวันตก ผู้ชายเป็นพ่อ ผู้หญิงเป็นต้น ดังนั้นความรู้เชิงทฤษกีจึงมีความหมายที่ไม่ถึงกับเป็นกฎเสียทีเดียว เมื่อไม่ใช่กฎจึงมีความจำเป็นในการพิสูจน์ค้นหาความจริงเพื่อให้เห็นเป็นประจักษ์ ตรงนี้เองจึงเป็นที่มาของการสำรวจ วิเคราะห์ วิจัย การจะทำงานได้ดีเพียงใดนั้นต้องประกอบด้วยความรู้ทั้งทางทฤษฏี และความรู้เชิงปฏิบัติ (Knowledge & Know-How) และเมื่อใดก็ตามที่การปฏิบัติงานใกล้ชิดหรือเป็นไปตามทฤษฏีนั้นแสดงว่า ความเป็นมืออาชีพได้เกิดขึ้นแล้ว (Professional) ภาษาชาวบ้านเรียกว่าทำงานอย่างมีหลักการ ความรู้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใดก็ต้องอาศัยความรู้ในลักษณะที่แตกต่างกันไป เช่น ชาวนาต้องมีความรู้ในการปลูกข้าว ช่างก่อสร้างต้องมีความรู้ในงานก่อสร้าง พนักงานบัญชีต้องมีความรู้ในการบัญชี เป็นต้น คำว่าอาชีพที่เรารู้จักกันทั่วไปนั้นยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มอาชีพ ความเป็นวิชาชีพมีความหมายไปในทางการประยุกต์ใช้ทฤษฏีให้เกิดผลในทางปฏิบัติ กลุ่มวิชาชีพจะต่างจากกลุ่มอาชีพที้เป็นวิชาการทั่วไป คือ คนที่จะทำงานวิชาชีพได้ต้องได้รับการศึกษามาโดยตรงและมีการฝึกฝนจนสามารถปฏิบัติงานได้ และมีการกำหนดจริยธรรมของกลุ่มวิชาชีพ เช่น วิศวกรรม แพทย์ พยาบาล นักบัญชี อัยการ และผู้พิพากษา เป็นต้น
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร นักบริหาร
ปีที่ 25
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 17 - 21
ปีพิมพ์ 2548
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-4960
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)