รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การบัญชีเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | วิเชษฐ์ โรจนสุกาญจน |
2. | ศิลปพร ศรีจั่นเพชร |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบัญชี |
2. | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การบัญชีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นแนวคิดทางบัญชีที่แตกต่างไปจากการบัญชีการเงินแบบเดิม การบัญชีตามแนวคิดนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม บทความนี้อธิบายถึงข้อจำกัดของการบัญชีแบบเดิม ความหมายและแนวคิดของการบัญชีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยอธิบายถึงงบมูลค่าเพิ่ม การบัญชีสิ่งแวดล้อม และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน ซึ่งเป็นการบัญชีและการรายงานตามความรับผิดชอบต่อสังคม
งบมูลค่าเพิ่ม สะท้อนถึงปรัชญาการดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับแนวคิดในเรื่องการสร้างงานและการทำประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม นอกเหนือไปจากผลกำไร งบมูลค่าเพิ่มแสดงถึงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่กิจการ รวมทั้งการแบ่งสรรมูลค่าเพิ่มดังกล่าวให้กับสังคม รัฐบาล เจ้าของเงินทุน ลูกค้า ลูกจ้าง และสิ่งแวดล้อม โดยมองว่ากิจการเป็นผู้สร้างความมั่งคั่งให้กับสังคม เนื่องจากกิจการก่อให้เกิดการจ้างงาน รัฐบาลได้รับภาษีอากรมากขึ้น ผู้ลงทุนและเจ้าหนี้ได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลและดอกเบี้ยจ่าย นอกจากนี้มูลค่าเพิ่มยังเกิดขึ้นจากจำนวนเงินที่กิจการนำไปลงทุนเพิ่มในธุรกิจอีกด้วย งบมูลค่าเพิ่มดังกล่าวมิได้มาทดแทนงบการเงินงบใดงบหนึ่งโดนเฉพาะ แต่เป็นการนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากงบการเงินที่เคยนำเสนออยู่แล้วตามปกติ
การบัญชีสิ่งแวดล้อมเป็นการตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อกิจการ และพยายามค้นหามาตรการต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมจากการบัญชีแบบเดิม โดยระบุถึงรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมจากการบัญชีแบบเดิมออกมาให้ได้ รวมทั้งพยายามคิดค้นมาตรการในการวัดผลการดำเนินงาน การประเมินผลและการรายงานในรูปแบบใหม่ เพื่อใช้ทั้งภายในและภายนอกกิจการ การบัญชีสิ่งแวดล้อมจึงเกี่ยวข้องกับการบันทึก จำแนก เปิดเผยรายการ และเหตุการณ์ทางการบัญชีของกิจการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผู้ใช้ทรายถึงรายการและเหตุการณ์ทางการบัญชีด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และความรับผิดชอบของกิจการที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน แสดงข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนพนักงาน อายุ เพศ จำนวนปีที่ทำงาน สภาพการทำงาน การฝึกอบรม ผลประโยชน์อื่นๆ อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน และอัตราการขาดงาน เป็นต้น การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานดังกล่าว สะท้อนถึงทัศนะที่ว่าความสำเร็จของกิจการขึ้นอยู่กับพนักงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่าต่อองค์การ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)