รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Due Diligence คืออะไร
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | อุณากร พฤฒิธาดา |
2. | ศิลปพร ศรีจั่นเพชร |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ธุรกิจ |
2. | การบริหารธุรกิจ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การทำ Due Diligence นั้นความจริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่นักสำหรับประเทศไทย แต่หลายท่านอาจรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแห่งความยุ่งยากและสับสนอันเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาในภาคธุรกิจการเงินเมื่อกลางปี พ.ศ. 2540 ที่ผ่านมา จนต้องมีการจัดให้ทำ Due Diligence สำหรับ 58 บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และปัญหาอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันติดตามมาและลุกลามไปในธุรกิจอื่น Due Diligence จึงถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวขวัญกันอย่างมากมาย อย่างไรก็ดี ในช่วงที่เหตุการณ์บ้านเมืองกลับสู่สภาวะปกติ การทำ Due Diligence ก็ยังเข้าไปมีบทบาทในแวดวงธุรกิจ ตัวอย่างเช่น การทำ Due Diligence เพื่อพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจถึงความเป็นไปได้ในการรวมกิจการ การประเมินมูลค่าของกิจการ หรือการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
คงมีบุคคลอีกจำนวนหนึ่งที่รับฟังด้วยความสงสัยว่า Due Diligence หมายถึงอะไร เขาทำงานอะไรกันจึงเรียกว่าการทำ Due Diligence บทความนี้จึงขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับการทำ Due Diligence โดยอธิบายถึงความหมายหรือคำนิยาม ข้อแตกต่างระหว่าง Due Diligence กับการสอบบัญชีและบริการเกี่ยวเนื่อง วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน ของเขตของการปฏิบัติงาน วิธีการและขั้นตอนในการทำ Due Diligence ตัวกลางหรือตัวแทนในการปฏิบัติงาน ประเภทของการทำ Due Diligence และการจัดทำผลการรายงานการปฏิบัติงาน
การทำ Due Diligence หรือที่บางท่านอาจเรียกว่า การสอบทานธุรกิจ (Business Review) นั้นถือเป็นงานบริการที่มีความสำคัญส่วนหนึ่งสำหรับการให้บริการในด้านที่ปรึกษาทางธุรกิจ (Advisory Services) ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์หลักผลิตภัณฑ์หนึ่งของสำนักงานที่ปรึกษาระดับแนวหน้าทั่วโลก โดยปกติแล้วสำนักงานดังกล่าวอาจให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่ หรือลูกค้ารายเดิมของสำนักงานก็ได้
การทำ Due Diligence มีวัตถุประสงค์แตกต่างกันตามลักษณะของงานแต่ละงาน ซึ่งขอบเขตของการปฏิบัติงาน และวิธีการปฏิบัติงานจะเป็นไปตามที่ได้ตกลงร่วมกัน ระหว่างผู้ว่าจ้าง ผู้รับงานและ / หรือบุคคลที่สามที่เกี่ยวข้อง Due Diligence จะต้องมีตัวกลาง หรือตัวแทนในการปฏิบัติงาน เนื่องจากต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความชำนาญในการปฏิบัติงาน ความเป็นอิสระและการรักษาความลับในเชิงการค้า การทำ Due Diligence อาจแบ่งออกเป็น Financial Due Diligence, Legal Due Diligence และ Operational Due Diligence ระดับความเข้มข้นของการปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ผลงาน ซึ่งอาจแบ่งเป็นการตรวจสอบหรือการสอบทานเบื้องต้น (Desk Top Review) และการตรวจสอบในรายละเอียดเบื้องลึก (In depth Review)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)