รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ผลการนำ Balanced Scorecard ไปใช้กับโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ณฤดี (สุนทรสิงห์) ถาวรบุตร |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | ระบบการวัดผลการปฏิบัติงาน |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | โรงพยาบาล -- การควบคุมคุณภาพ -- วิจัย |
2. | โรงพยาบาล -- การประเมิน -- สหรัฐอเมริกา |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ปัญหาโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ยังเป็นปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้ และรอการแก้ไข ไม่ว่าจะในด้านจำนวนคนไข้ที่มากขึ้น งบประมาณที่มีจำกัด หรือการบริหาร โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการก็มีความกดดันในหลายๆ ด้านเหมือนกันเช่น ความต้องการที่จะทำให้ได้ Hospital Accreditation (HA) อำนาจของผู้ซื้อที่มีมากขึ้น (เนื่องจากมีการแข่งขันระหว่างโรงพยาบาลเอกชนหลายๆ แห่งที่มีคุณภาพ คนไข้จึงสามารถเลือกได้) คนไข้มีความรู้และมีความต้องการมากขึ้น กฎระเบียบต่างๆ ของรัฐ ต้นทุน และคุณภาพ แต่ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่ประสบปัญหาเหล่านี้ ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาก็ประสบปัญหาเช่นกัน และมีปัญหาร้ายแรงกว่ามาก บทความนี้จะกล่าวถึงโรงพยาบาลบางแห่งที่นำระบบการวัดผลการปฏิบัติงานมาช่วยในการแก้ปัญหาด้านการเงินแบะด้านการบริหารของโรงพยาบาลได้สำเร็จคือ Duke Children Hospital และ Bridge Hospital and Healthcare Services ซึ่งระบบการวัดผลการปฏิบัติงานนี้เรียกว่า Balanced Scorecard (BSC) หรือบัตรบันทึกคะแนนอย่างสมดุล นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกก็คือ ผลการสำรวจผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาล 9 แห่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งนำ BSC มาใช้เป็นเครื่องมือในการนำกลยุทธ์ใหม่ไปปฏิบัติ ซึ่งการสำรวจนี้จะสอบถามถึง 1. ประโยชน์ที่ได้จากการนำ BSC ไปใช้ 2. บทบาทของ BSC ที่สัมพันธ์กับพันธกิจ วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ ที่กำหนดขึ้นมาอย่างดี 3. แรงจูงใจในการนำ BSC มาใช้ในโรงพยาบาล 4. ความแตกต่างระหว่าง BSC กับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานระบบอื่น 5. กระบวนการพัฒนาและการนำ BSC ไปใช้ 6. ความท้าทายและอุปสรรคในกระบวนการระหว่างที่มีการนำไปใช้ ซึ่งผู้บริหารทั้งหลายได้สรุปว่า BSC สามารถที่จะนำไปใช้ในสถานพยาบาลต่างๆ ได้อย่างประสบผลสำเร็จ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)