รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาแบบจำลองสำหรับทำนายความสามารถในการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | สหกรณ์ออมทรัพย์--การเงิน |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | สหกรณ์ออมทรัพย์--การชำระหนี้ |
2. | การพัฒนา--สหกรณ์ออมทรัำพย์ |
3. | สหกรณ์ออมทรัพย์--หนี้--การจัดการ |
4. | สหกรณ์ออมทรัพย์--การเงิน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของอัตราส่วนทางการเงินและการบริหารจัดการที่มีต่อความสามารถในการชำีระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อนำผลการวิเคราะห์มาพัฒนาแบบจำลองสำหรับใช้ในการทำนายความสามารถในการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ลูกหนี้เงินให้กู้คงเหลือของชุมชนสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 และวันที่ 31 มีนาคม 2549 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือสถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีตัวแปรอัตราส่วนทางการเงินและวิธีการบริหารจัดการรวมทั้งสิ้น 8 ตัวแปร ที่ส่งผลให้ความสามรถในการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ต่ำ ได้แก่ 1.อัตราส่วนลูกหนี้เงินกู้ืทั้งสิ้นต่อทรัพย์รวม 2.อัตราส่วนเงินกู้ภายในต่อทรัพย์สินรวม 3.การนำเงินกู้ยืมจากภายนอกส่วนใหญ่ไปให้สมาชิกกู้ 4.การไ่ม่ได้นำประมาณการล่วงหน้าเกี่ยวกับกระแสเงินสดได้มาและใช้ไปในการบริหารสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ 5.การขยายวงเงินกู้ และ/หรือ ขยายงวดระยะเวลาชำระหนี้ให้แก่สมาชิกมีผลกระทบต่อปัญหาสภาพคล่องของสหกรณ์ 6.การกำหนดนโยบายตอบสนองความต้องการเงินกู้ของสมาชิกโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพคล่องของสหกรณ์ 7.การกำหนดนโยบายหารายได้เพื่อนำมาจ่ายเงินปันผลโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพคล่องของสหกรณ์ และ 8.การขาดบุคลากรที่มีความรู้ึความสา่มารถในการบริหารการเงิน
ผลจากการทดสอบสมมติฐานได้นำมาสู่การพัฒนาแบบจำลองสำหรับใช้ทำนายความสามารถในการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ต่อเจ้าหนี้เงิีนกู้ โดยตัวแปรทั้ง 8 ตัวแปรข้างต้นมีผลต่อแบบจำลอง อีกทั้งอบบจำลองที่พัฒนาขึ้นมีอัตราการทำนายได้อย่างถูกต้องโดยรวมร้อยละ 97.9 ซึ่งอัตราดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ดังนั้น แบบจำลองนี้จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการทำนายโอกาสของความสามารถในการชำระหนี้ได้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในอนาคต
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)