รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง กำหนดวาระข่าวสารทางการเมืองในกลุ่มบล็อกโอเคเนชั่น
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.สุปรียา กลิ่นสุวรรณ
2.พิรงรอง รามสูต
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การสื่อสารทางการเมือง -- ไทย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ที่มาและความสำคัญ สื่อกระแสหลักมีบทบาทอย่างยิ่งในการกำหนดการรับรู้ข่าวสารของสาธารณะชนเผ่าประตูขาวสาร (Gatekeeper) ที่คัดเลือกประเด็นข่าวสารต่างๆ และเป็นกำหนดวาระข่าวสาร (To set agenda) โดยการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นข่าวสารต่างๆ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ เพื่อให้ประชาชนตระหนักว่า ในช่วงเลานั้นข่าวสารใดบ้างมีความสำคัญ การกำหนดวาระข่าวสารที่ผ่านมาอำนาจในการตัดสินมักอยู่ในมือของสื่อมวลชนที่เป็นสื่อกระแสหลักหรือผู้ที่สามารถเข้าถึงสื่อกระแสหลักได้ ข่าวสารที่เผยแพร่จึงเป็นข่างสารที่สื่อมวลชนเห็นว่าสำคัญและพื้นที่ส่วนใหญ่ของสื่อมักถูกผูกขาดโดยบุคคลที่มีอำนาจ แต่สำหรับประชาชนทั่วไปกลับไม่มีพื้นที่ให้ปรากฏเป็นข่าวแม้เรื่องราวเหล่านั้นจะมีคุณค่าต่อสังคมมากเพียงใดก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาคประชาชนจึงแสวงหาพื้นที่แสดงความคิดเห็น เสาะหาข่าวสารที่แตกต่างจากสื่อกระแสหลัก หรือเผยแพร่ข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่น ผ่านชองทางที่สามรถเผยแพร่ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นสู่สาธารระได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องผ่านการแก้ไขหรือกลั่นกรองโดยสื่อมวลชนกระแสหลัก (Mainstream Media) เหมือนอย่างที่ผ่านมา บล็อก (Blog) หรือ เว็บบล็อก (Weblog) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อความของตนเองลงในเว็บไซต์โดยเนื้อหาของบล็อกนั้นมีความหลากหลาย ซึ่งบล็อกที่มีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน คือ บล็อกการเมือง (Political Blog) ที่ผู้ใช้ใช้นำเสนอเนื้อหาเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและเพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองรวมไปถึงใช้เป็นพื้นที่เสนอข้อมูลที่ไม่สารถพบได้ในสื่อกระแสหลัก บล็อกเป็นพื้นที่ให้ประชาชนบอกเล่าเรื่องราวที่พบเห็นเรื่องราวในชุมชนของตนออกไปสู่มวลชนสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดวารสารศาสตร์รูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า วารสารศาสตร์ภาคการเมือง (Citizen Journalism) ที่พลเมืองมีบทบาทในการรวบรวม รายงาน วิเคราะห์ เสนอข่าวสารข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและถูกต้องแม่นยำได้อย่างเป็นอิสระเพื่อเผยแพร่ไปในวงกว้าง รวมทั้งความสามารถในการเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเสรีนั้น ทำให้บางประเด็นในสังคมบล็อก (Blogosphere) กลายเป็นประเด็นที่สื่อมวลชนกระแสหลักสนใจนำไปเผยแพร่ต่อ แสดงให้เห็นว่าอำนาจของสื่อมวลชนในฐานะผู้กำหนดวาระข่าวสารได้ถูกเปลี่ยนมาอยู่ในมือของประชาชนมากขึ้น ในต่างประเทศ กรณีสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของบล็อกการเมืองในการสร้างวาระข่าว คือ การลาออกจากตำแหน่ง Trent Lott ผู้นำเสียงส่วนใหญ่ในสภาสูงของสหรัฐอเมริกา ในปี 2002 เนื่องมาจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของบล็อกเกอร์ที่ตั้งข้อสังเกตถึงคำกล่าวของเขาซึ่งมีประเด็นแฝงเรื่องการแบ่งเชื้อชาติหรือสีผิว ซึ่งกระแสหลักไม่รายงานเรืองนี้อย่างละเอียด จนกระทั้งจนประเด็นนี้ขายใหญ่ขึ้นในสังคมบล็อก ทำให้สื่อกระแสหลักหันมาสนใจและหาข้อมูลจากบล็อกเพื่อนำเสนอข่าว อีกทั้งบล็อกเกอร์ยังทำหน้าที่ นักข่าวภาคประชาชน (Citizen Reporter) ที่รายงายสดเหตุการณ์ทหารพม่าล้อมปราบพระสงค์ที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร โดยรายงานทั้งภาพและคลิปวิดีโอคู่ไปกับสื่อกระแสหลักอย่างซีเอ็นเอ็นและบีบีซี ช่วยให้สังคมโลกรู้เหตุการณ์พม่าอีกช่องทางหนึ่ง จากอิทธิพลของวาระข่าวสารบนบล็อกที่มีต่อวงการสื่อมวลชนดังกล่าวประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะเสนอข้อมูลข่าวสารและวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถานการณ์การเมืองผ่านทางบล็อกเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาถึงความสามารถของบล็อกในการกำหนดวาระข่าวสารทางการเมือง โดยผู้วิจัยได้เลือกเว็บไซต์ “โอเคเนชั่น” (http://www.oknation.net) ในกลุ่มบล็อกการเมืองเป็นกรณีศึกษาเนื่องจากมีวัตถุประสงค์หลักที่สนับสนุนแนวคิดวารสารศาสตร์ภาคการเมือง (Citizen Journalism) ภายใต้แนวคิดหลักที่ว่า “ทุกคนเป็นนักข่าวได้” เพื่อสนับสนุน “นักข่าวประชาชน” ซึ่งหมายถึง ประชาชนทุกคนสามารถเป็นนักข่าว คอลัมนิสต์และบรรณาธิการได้ โดยรายงานข่าวเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านทางบล็อก อีทั้ง บล็อกเกอร์โอเคเนชั่นยังได้รายงานข่าวด่วนต่างๆ ขึ้นบล็อกอย่างรวดเร็วก่อนที่สื่อที่มีอิทธิพลเดิมจะสามารถทำได้ นับว่าเป็นมิติใหม่ของวงการสื่อมวลชลในประเทศไทย ด้วยอิทธิพลของบล็อกที่มีต่อสื่อกระแสหลักดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีความเป็นไปได้ว่า วาระข่าวสารทางการเมืองในโอเคเนชั่นบล็อกน้าจะมีอิทธิพลต่อการทำงานของสื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสื่อของบริษัทเนชั่นฯ ซึ่งเป็นองค์กรสื่อที่เป็นเจ้าของโอเคเนชั่นบล็อกและสื่อสารสนเทศอื่นๆ เช่น โทรทัศน์ และหนังสื่อพิมพ์ รวมไปถึงบล็อกซึ่งเป็นสื่อทางเลือกน่าจะเป็นช่องทางในการกำหนดวาระทางเลือกที่มาจากภาคประชาสังคมเพื่อให้ประเด็นที่เหมาะสมแก่การรับรู้ของสังคมสามารถเสนอไปสู้สื่อกระแสหลักและสาธารณชนได้ ผู้วิจัยเห็นว่า การใช้โอเคเนชั่นบล็อกเป็นสื่อในการเสนอข้อมูลข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นในมิติด้านการเมืองหรือเป็นการกำหนดวาระข่าวสารนั้น อาจจะเป็นการสร้างมุมมองใหม่ให้กับการสื่อสารทางการเมืองของไทย เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญในการใช้สื่อ และเป็นแนวทางให้สื่อมวลชนใช้บล็อกเพื่อพัฒนาการทำงานด้านข่าว ดังนั้น งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงประเด็นหรือวาระข่าวสารทางการเมืองที่ปรากฏในโอเคเนชั่นบล็อกและหนังสือพิมพ์กระแสหลัก ผู้ที่มีบทบาทในการกำหนดวาระข่าวสารทางการเมืองที่ปรากฏในบล็อก รวมไปถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมโยงของวาระข่าวสารทางการเมืองจากโอเคเนชั่นบล็อกกับสื่อกระแสหลัก
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 28
ฉบับที่ 4
หน้าที่ 131 - 146
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)