รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การประมาณเงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนคงค้างด้วยวิธีการบันไดลูกโซ่
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.มานพ วราภักดิ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ค่าสินไหมทดแทน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ในธุรกิจการประกันวินาศภัย ภัยที่ได้เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดค่าสินไหมทดแทน ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น จะมีจำนวนไม่น้อยที่สามารถจ่ายได้ในปีที่เกิดภัย (ปีคุ้มครอง) เนื่องจากเกิดความล่าช้า ซึ่งความล่าช้ามีสองแบบใหญ่ๆคือ อาจเกิดจากความล่าช้าในการรายงานต่อบริษัท [incurred but not reported (IBNR)claims] หรืออาจเกิดจากความล่าช้าในการเจรจาตกลงในค่าสินไหมทดแทนเพราะฉะนั้น บริษัทจึงมีความจำเป็นจะต้องตั้งเงินสำรอง (provisions) ในปี (บัญชี) ต่อๆไป สำหรับจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ได้เกิดขึ้นแต่ยังไม่สามารถจ่ายในปีที่เกิดขึ้น การประมาณเงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนคงค้าง มีหลายวิธีการ ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ ไดออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท และเงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2548 ระบุในข้อ ( 4.3) ถึงวิธีการจัดสรรเงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทนคงค้าง และวิธีหนึ่งระบุให้บริษัทใช้ได้คือวิธีการ Chain Ladder Approach เพราะฉะนั้น ในบทความนี้จึงขอนำเสนอรายละเอียดของ “วิธีการบันไดลูกโซ่” (Chain Ladder Approach ) เพื่ออาจจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทประกันภัย หรือผู้สนใจทั่วไปที่จะนำวิธีการบันไดลูกโซ่ไปใช้ในการประมาณหรือการจัดสรรเงินสำรอง
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 29
ฉบับที่ 111
หน้าที่ 19 - 32
ปีพิมพ์ 2550
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)