รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
แผนแม่บทอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | อัจฉรา จันทร์ฉาย |
2. | กัลยา วานิชย์บัญชา |
3. | จินตนา บุญบงการ |
4. | พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ |
5. | พรรณนิภา รอดวรรณะ |
6. | สุทธิมา ชำนาญ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | อุตสาหกรรมการพิมพ์ -- ไทย -- วิจัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการผลิต และมีโอกาสสูงในการขยายตัวในอนาคตตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เนื่องจากปัจจุบันคุณภาพทางสังคมและระดับการศึกษาของประชากรไทยยังอยู่ในระดับต่ำ พิจารณาจากอัตราบริโภคกระดาษของประชากรไทยเฉลี่ยประมาณ 42 กิโลกรัม/คน/ปี เปรียบเทียบกับอัตราเฉลี่ยของโลกเท่ากับ 53 กิโลกรัม/คน/ปี ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกามีอัตราการใช้กระดาษประมาณ 350 กิโลกรัม/คน/ปี ญี่ปุน 251 กิโลกรัม/คน/ปี หรือประเทศเอเชีย เช่น สิงคโปร์ เกาหลี มาเลเซีย ก็ยังมีอัตราการบริโภคกระดาษของประชากรสูงกว่า 100 กิโลกรัม/คน/ปี แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมกระดาษและสิ่งพิมพ์ของไทยมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก นอกจากนี้อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ยังมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมกระดาษและบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมหล่านี้มีการจ้างงานเป็นจำนวนมาก ตามสถิติของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานเยื่อกระดาษ กระดาษและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับกระดาษมีจำนวน 807 โรงงาน มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 55,000 ล้านบาท และมีบุคลากรประมาณ 36,000 คน โรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์มีจำนวนกว่า 3000 โรงงาน กระจายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 120,000 คน นอกจากผลิตเพื่อใช้ในประเทศแล้วไทยังมีการส่งออกสิ่งพิมพ์กระดาษและบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทเป็นมูลค่ากว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ยังนับเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนให้แก่อุตสาหกรรมส่งออกอื่นๆ เช่น การพิมพ์บรรจุภัณฑ์ คู่มือการใช้สินค้า สลากใบรับประกันสินค้า แค็ตตาล็อกสินค้า เป็นต้น
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)