รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การศึกษาการควบรวมและซื้อกิจการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในช่วงปี 2544-2549
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การรวมกิจการ -- ไทย |
2. | บริษัท -- การเงิน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การเติบโตของธุรกิจส่วนใหญ่เกิดจากการขยายตัวจากภายใน กล่าวคือธุรกิจดำเนินงานมีผลกำไรแล้วนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดสะสมไว้ในกิจการเพื่อลงทุนต่อ รวมถึงอาจมีการขายหุ้นเพิ่มทุนหรือกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อขยายกิจการด้วย อย่างไรก็ตาม มีอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้รวดเร็วกว่าวิธีที่กล่าวข้างต้นก็คือการเทคโอเวอร์ (takeover) หรือการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมการควบรวบและการซื้อกิจการ (mergers and acquisitions) หรือ M&A หมายถึง การควบรวมและการซื้อกิจการ โดยแบ่งได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ การควบกิจการ (merger) และการซื้อกิจการ (acquisition) โดยการควบกิจการ หมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปรวมกิจการเข้าด้วยกัน โดยผลของการรวมอาจเกิดเป็นบริษัทใหม่ หรือคงเหลือเป็นบริษัทใดบริษัทหนึ่งเพียงบริษัทเดียว ส่วนการซื้อกิจการ หมายถึง การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการของอีกบริษัท ซึ่งจำแนกได้อีก 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 ได้แก่ การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อทรัพย์สินของอีกบริษัทหนึ่งเพียงอย่างเดียว โดยบริษัทที่ขายทรัพย์สินยังคงดำเนินการต่อไปได้ การซื้อกิจการลักษณะนี้เรียกว่าการซื้อทรัพย์สิน (asset acquisition) แบบที่ 2 ได้แก่ การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของอีกบริษัทด้วยการซื้อหุ้นจนเป็นผลให้ผู้ถือหุ้นเดิมสุญเสียอำนาจในการบริการ การซื้อกิจการลักษณะนี้เรียกว่าการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (share acquisition หรือ takeover) โดยการเทคโอเวอร์อาจแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ถูกซื้อกิจการไม่เต็มใจ แต่ถูกอีกบริษัทหนึ่งซื้อหุ้นจนกระทั่งผู้ถือหุ้นเดิมสูญเสียอำนาจในการออกเสียงและควบคุมกิจการ เรียกว่าเทคโอเวอร์แบบเป็นปรปักษ์ (hostile takeover) หรือการเทคโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตร และกรรีที่ 2 ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ถูกเทคโอเวอร์สมัครใจขายหุ้นให้กับพันธมิตรใหม่ เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการต่อไปได้ เรียกว่าการเทคโอเวอร์เวอร์แบบเป็นมิตร (friendly takeover)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)