รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
สภาพการบริหารและแนวทางการพัฒนางานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดราชบุรี
|
ชื่อเรื่องรอง |
Existing situations and guided development of information technology performance of administrators in the office of Ratchaburi Educational Service Area
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การบริหาร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี จำแนกตามขนาดของโรงเรียน วุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งของผู้บริหารโรงเรียน รวมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนางานเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศและแบบสอบถามแบบปลายเปิด สอบถามเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนางานเทคโนโลยีสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี อยู่ในระดับมากทุกด้านและสภาพการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการประสานสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และสภาพการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามวุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งของผู้บริหารโรงเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ โรงเรียนมีนโยบายส่งเสริมใ้ห้ครูทุกคนได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกสถานศึกษา, ผู้บริหาร ครูและบุคลากรควรได้รับการอบรมพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่อง, จัดสรรงบประมาณตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นในการบริหารและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม และเพียงพอ, ส่งเสริมให้ครูใช้ข้อมูลข่าวสารที่ดีมาช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน, ส่งเสริมการฝึกอบรมบุคลากรให้มากขึ้น, มีการประชุมระดมความคิดร่วมกันเพื่อปรับปรุงโครงสร้างและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบงานเทคโนโลยีสารสารเทศให้ชัดเจนและทันสมัย และประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความเข้าใจในแนวทางเดียวกัน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)