รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การวัดคุณภาพกำไรจากผลกระทบจากภาระผูกพันทางการเงินด้วยการวัดเสถียรภาพของกำไรของกลุ่มสถาบันการเงินซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวัดคุณภาพกำไรในประเทศไทยยังไม่มีแบบแผนที่เด่นชัด โดยส่วนมากมักใช้การวัดผลจากรายการคงค้างตามการศึกษาในอดีตของต่างประเทศ ซึ่งการศึกษารายการคงค้าดังกล่าวเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายถึงความสามารถในการเป็นตัวแทนของการวัดคุณภาพกำไรนั้นยังมีทางเลือกอื่นๆอีก ซึ่งต้องคำนึ่งถึงมูลเหตุของการเกิดและผลลัพธ์ของราการที่นำมาพิสูจน์
Francis, Olsson and Schipper (2006) ได้กล่าวถึง แหล่งที่เกิดคุณภาพกำไรอันเป็นที่ยอมรับกันนั้นมาจากข้อมูล 2 แหล่ง ได้แก่ Innate Source และ Reporting Source ซึงรายการต่างๆที่เป็นแหล่งกำเนิดของคุณภาพกำไรนี้ ต้องส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนอันจะเกิดขึ้นจากตลาดได้เป็นอย่างดีไปพร้อมๆกัน ดังนั้น รายการใดๆก็ตามที่ถูกนำมาพิจารณาถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับคุณภาพกำไรจะต้องมีส่วนสำคัญในการอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับผลตอบแทนของตลาดอย่างมีสาระสำคัญ หากรายการที่ถูกนำมาเป็นตัวแทนเพื่อใช้วัดความสัมพันธ์ของคุณภาพกำไรไม่มีความเกี่ยวข้องกับผลตอบแทนของตลาดที่จะได้รับคือ อาจกล่าวได้ว่ารายการนั้นไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพกำไร
จากการศึกษาทางด้านการเงินพบว่า รายการที่สำคัญและมีผลกระทบต่อผลตอบแทนของตลาดรายการหนึ่งคือ ผลภาระผูกพันทางการเงิน (Financial Leverage) ซึ่งถ้าหากกิจการใดมีอัตราส่วนภาระผูกพันทางการเงินสูง ผลตอบแทนก็จะสูงตามอัตราส่วนที่เกิดขึ้นนั้น หากผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินอัตราส่วนดังกล่าวได้ ผู้ใช้ข้อมูลในงบการเงินน่าจะประเมินความเสี่ยงในการใช้ประโยชน์จากงบการเงินได้เป็นอย่างดี และมีความเชื่อมั่นได้ว่ากำไรของกิจการนั้นๆมีคุณภาพ และมีความเสี่ยงในการใช้ข้อมูลต่ำ ดังนั้น ผลภาระผูกพันทางการเงินจึงน่าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพกำไร นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเชิงประจักษ์ในอดีตที่ทำให้เชื่อได้ว่า เสถียรภาพของกำไรนั้นสามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนที่ดีในการวัดคุณภาพกำไรได้ เช่น Chen, Shevlin and Tong(2005) ได้อ้างถึงการใช้เสถียรภาพเป็นตัวแทนของคุณภาพกำไร และ Anctil and Chamberlain (2005) ได้อ้างว่าผลภาระผูกพันนั้นมีผลกระทบ (Effect) อย่างเป็นสาระสำคัญต่อเสถียรภาพของกำไรจริง
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา “การวัดคุณภาพกำไรจากผลกระทบจากภาระผูกพันทางการเงิน ด้วยการวัดเสถียรภาพของกำไร ของกลุ่มสถาบันการเงินซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทย” โดยใช้การวัดเสถียรภาพของกำไร (Earning Persistence) เป็นตัวแทนการวัดคุณภาพกำไรของกิจการ และใช้ผลกระทบจากภาระผูกพันทางการเงิน (Financial Leverage Effect) เป็นตัวแปรสำคัญที่คาดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับการวัดเสถียรภาพกำไรของกลุ่มสถาบันการเงินที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และใช้หลักการวิเคราะห์ตัวแบบตามงานวิจัยของ Chen, Shevlin and Tong(2005) ซึ่งอ้างอิงตามตัวแบบทางสถิติ ARIMA เพื่อวัดความสัมพันธ์แบบ Autoregressive ที่เกิดขึ้นจากตัวแปร 3 ปัจจัย (p, q, r) และเพิ่มตัวแปรควบคุมซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากค่าคาดเคลื่อนอื่นๆของสมการ โดยแยกปัจจัยของตัวแปรควบคุมออกเป็น 2 ปัจจัยหลักด้วยสัมประสิทธิ์ที่แตกต่างกันตามแหล่งข้อมูล 2 แหล่งที่ก่อให้เกิดคุณภาพกำไร
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)