รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ผู้บริหารสถานศึกษา -- การบริหาร |
2. | การบริหารการศึกษา -- การประเมิน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ในปัจจุบันนโยบายมีนโยบายในการประกันคุณภาพการศึกษาในทุกระดับรวมทั้งระดับอุดมศึกษาเพื่อให้แน่ใจว่ามหาวิทยาลัยสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ผลิตผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ในวงการวิชาการและภาคธุรกิจ รวมทั้งสามารถให้บริการวิชาการแก่สังคมที่มีคุณภาพเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้เพื่อพัฒนาสังคม
ในกระบวนการปรันคุณภาพนี้ สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ การประเมินผลการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะทำให้มหาวิทยาลัยได้ทราบว่าคุณภาพของบัณฑิต งานวิจัย และการบริการวิชาการทางสังคมมีคุณภาพมากเพียงไร รวมถึงคุณภาพของปัจจัยนำเข้าต่างๆที่ จะส่งผลต่อคุณภาพของผลผลติเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ หลายมหาวิทยาลัยประสบกับปัญหาประการหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกัน คือการที่มหาวิทยาลัยมีตัวบ่งชี้จำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดงานในการเก็บข้อมูลจากอาจารย์และหน่วยงานต่างๆ เป็นจำนวนมากและบ่อยครั้ง ซึ่งในบางครั้งทำให้เกิดแรงต่อต้านจากผู้ให้ข้อมูลเนื่องจากเป็นการรบกวนเวลาทำงานของอาจารย์และหน่วยงานดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนภายในครั้งเดียว แต่จากการที่มหาวิทยาลัยจะต้องมีความพยายามในหารเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนภายในครั้งเดียว แต่จากการที่มหาวิทยาลัยจะต้องมีรายงานผลการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ต้องการตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน หรือในบางครั้งแม้ตัวบ่งชี้จะเหมือนกันแต่ก็มีความแตกต่างกันด้านนิยาม รวมถึงระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล เช่น บางครั้งเก็บข้อมูลเป็นปีงบประมาณ บางครั้งเก็บข้อมูลเป็นปีการศึกษา หรือบางครั้งเก็บข้อมูลเป็นปีปฏิทิน จากข้อจำกัดเหล่านี้ จึงทำให้มหาวิทยาลัยไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงในการขอข้อมูลจากทางอาจารย์และหน่วยงานบ่อยครั้ง และทำให้อาจารย์และหน่วยงานที่ถูกขอข้อมูลเกิดความเบื่อหน่ายและรู้สึกว่าข้อมูลเหล่านี้มีความซับซ้อน นอกจากข้อมูลที่มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องรายงานให้แก่องค์กรภาครัฐเหล่านี้แล้ว มหาวิทยาลัยเองก็จำเป็นที่จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลตัวบ่งชี้ภายในเพื่อเป็นประโยชน์ในการบริหาร ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะเห็นมหาวิทยาลัยมีตัวบ่งชี้เป็นจำนวนมาก
การที่มหาวิทยาลัยมีตัวบ่งชี้จำนวนมากนี้ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องลดการให้ความสำคัญกับตัวบ่งชี้เหล่านี้ทั้งนี้เนื่องมาจากเป็นการยากที่จะจดจำตัวบ่งชี้เหล่านี้ได้ทั้งหมด และเป็นธรรมดาที่เมื่อตัวบ่งชี้มีจำนวนมาก เวลาที่ใช้ส่วนใหญ่จึงเป็นการเก็บข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลมากกว่าการนำเอาข้อมูลตัวบ่งชี้ไปใช้เป็นประโยชน์ ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ตัวบ่งชี้ที่มหาวิทยาลัยทำการวัดไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทั้งๆที่มหาวิทยาลัยได้ลงทุนลงแรงเป็นจำนวนมากในการสร้าวแบะจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)