รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ความรู้ ความคิดเห็น และผลที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พุทธศักราช 2482 เป็นกฎหมายว่าด้วยการบัญชีฉบับแรก ประกาศ ใช้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2482 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมการจัดทำบัญชีของผู้ประกอบการบางประเภทให้เป็นไปโดยมีระเบียบอันดี ซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของกิจการที่ต้องจัดทำบัญชี โดยพระราชบัญญัติการบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496
ต่อมาในปี พ.ศ.2515 การค้าและการอุตสาหกรรมได้เจริญเติบโตเป็นอย่างมาก การจัดทำบัญชีเพื่อรายงานข้อมูลทางการเงินมีความจำเป็นมากขึ้น คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศอยู่ขณะนั้นได้ยกเลิกพระราชบัญญัติการบัญชีดังกล่าว และออกเป็นประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 (ปว285) แทนเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 จนถึง พ.ศ.2543 จึงถูกยกเลิก เนื่องจาก ปว285 ได้ถูกบังคับมาเป็นเวลานานทำให้มีหลักการเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีหลายประการไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางการบัญชี และการจัดทำบัญชีในปัจจุบันรวมทั้งไม่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่เป็นสากล ทำให้จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย และสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้นกระทรวงพาณิชย์ได้พิจารณาเห็นสมควรแก้ไข ปรับปรุง และเสนอ “พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543” มาแทน ปว285 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2543 เป็นต้นไป
สำหรับกฎหมายว่าด้วยการสอบบัญชีนั้น เริ่มจาก ปี พ.ศ. 2496 ได้มีการร่างกฎหมายชื่อ “ร่างพระราชบัญญัตินักบัญชี พ.ศ.2496” และได้มีการแก้ไขชื่อใหม่เป็น “ร่างพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี” ในเวลาต่อมา และประกาศใช้เป็นกฎหมายเรียกว่า “พระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505” (พ.ร.บ. ผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ตลอดมาจนถึงปี พ.ศ.2547 จึงถูกยกเลิก เนื่องจากได้บังคับใช้มานาน ทำให้มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานของวิชาชีพที่เป็นสากล ซึ่งต้องพัฒนาก้าวหน้าไปตามความเจริญ และการขยายตัวระหว่างเศรษฐกิจ การลงทุน และการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นกระทรวงพาณิชย์ได้พิจารณาเห็นสมควรแก้ไขปรับปรุง และเสนอ “พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547” (พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547) มาแทนพ.ร.บ.ผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 (ตัวกฎหมายหลักถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 แต่กฎกระทรวงข้อบังคับ และประกาศใช้บังคับจนกว่าจะมีกฎหมายระดับรองในเรื่องเดียวกันตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 ประกาศใช้) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2547 เป็นต้นไป
ในส่วนของสถาบันวิชาชีพทางการบัญชี ในประเทศไทยนั้น ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักบัญชีจัดตั้งสมาคนนักบัญชีแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2491 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสมาคมนักบัญชี และผ้าอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (The Institute of Certified Accountants and Auditors of Thailand) ตั้งวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2518 เป็นต้นมา จนถึงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2548 สมาชิกสมาคมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกสมาคมฯ และดอนกิจการทั้งหมดไปยังวิชาชีพบัญชีที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 โดยมีศาสตราจารย์ เกษรี ณรงค์เดช ซึ่งเป็นนายกสมาคมขณะนั้น เป็นนายกสภาวิชาชีพบัญชีคนแรกของประเทศไทยตามที่สมาชิกสภาได้ลงมติเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2548
ในขณะนี้การประกอบวิชาชีพด้านการสอบบัญชีและการประกอบวิชาชีพการการทำบัญชี ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของสภาฯ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มาตรา 9 ภายใต้บังคับบทบัญญัติหมวด 5 การควบคุมด้านการสอบวิชาชีพด้านการทำบัญชี และหมวด 6 การควบคุมการประกอบวิชาชีพด้านการทำบัญชี ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจพระราชบัญญัติฉบับนี้ รวมทั้งข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ประกาศคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีและประกาศคณะกรรมการการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี ตลอดจนประกาศต่างๆของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามถูกต้องต่อไป
อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชีมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2547 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พบว่ามีปัญหาหลายประการดังนี้
1. ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นจำนวนมากที่ยังสับสนเกี่ยวกับการแจ้งเป็นผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใต้พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และการสมัครเป็นสมาชิกหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี ภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547
2. ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีได้รับผลกระทบจากการชำระค่าบำรุงสมาชิก ค่าธรรมเนียมรายปี และการจัดให้มีหลักประกันความรับผิดชอบต่อบุคคลที่ 3
3. ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมีความคิดเห็นต่างกันทั้งที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการทำงานของสภาวิชาชีพบัญชีที่มีหน้าที่เสริมสร้างความรู้ ความสำนึกในหน้าที่ และพัฒนาวิชาชีพบัญชีให้ครอบคลุมทุกๆด้าน ภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)