รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
กรณีศึกษา “มูลค่ายุติธรรม” จาก IAS 41: การบัญชีเกษตรกรรม
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
เนื่องจากการเติบโตทางการค้า เศรษฐกิจและการลงทุนแบบไร้พรมแดน ทำให้เกิดความต้องการข้อมูลที่ตรงประเด็นเพื่อช่วยต่อการตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ และเหมาะสมมากที่สุด ตามสภาวการณ์ต่างๆ และจากการที่ประเทศไทยมีนโยบายการกำหนดมาตรฐานการบัญชีโดยอิงจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standards) ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากลว่ามีการกำหนดมาตรฐานการบัญชีที่เป็นกลางและมีความเหมาะสมกว่าที่จะนำมาตรฐานการบัญชีของประเทศใด ประเทศหนึ่งมาใช้ มาตรฐานการบัญชีระว่างประเทศให้ความสำคัญในการวัดมูลค่าของรายการทางการเงินต่างๆ โดยใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมเพื่อให้งบการเงินสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ได้ข้อมูลที่ตรงประเด็นและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจแก่ผู้ใช้งบการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษนี้ จะเห็นได้ว่าคณะกรรมกากำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standard Board: IASB) ได้มีการใช้วิธีการวัดค่าด้วยค่ายุติธรรมในการกำหนดมาตรฐานบัญชี ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นถกเถียงกันอย่างแพร่หลายถึงความเหมาะสมของการนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความน่าเชื่อถือของการได้มาซึ่งมูลค่ายุติธรรม
งานวิจัยนี้ศึกษาความเห็นต่อการวัดมูลค่าโดยใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม โดยใช้กรณีศึกษาของมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 41 การบัญชีเกษตรกรรม (IAS 41) ซึ่งกำหนดวิธีการวัดค่าสินทรัพย์ทางการเกษตรด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรม และเนื่องจากประเทศไทยมีนโยบายการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของประเทศโดยองจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ได้มีการยกร่างมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้แล้วโดยเนื้อหาสำคัญของมาตรฐานการบัญชีของไทยฉบับนี้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 41 ซึ่งกำหนดให้มีการวัดค่าโดยใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม ดังนั้นจึงมีประโยชน์ที่จะทำการศึกษาความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่อาจมีขึ้นจากการวัดมูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรม ดังนั้นจึงมีประโยชน์ที่จะทำการศึกษาความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจมีขึ้น จากการวัดมูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรม หากมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้ในประเทศไทยได้แก่ ผู้กำหนดมาตรฐาน ผู้ใช้งบการเงิน ผู้จัดทำงบการเงิน ผู้สอบบัญชี และหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลทุติยภูมิ การสัมภาษณ์ และการตอบแบบสอบถาม
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)