รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนการถือครองหุ้นของกรรมการกับผลการดำเนินงานของบริษัท
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | เสาวนีย์ สิชฌวัฒน์ |
2. | ทิฆัมพร รักธรรม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | หุ้นส่วนและบริษัท |
2. | หุ้นสุ่วน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนการถือครองหุ้นของกรรมการบริษัทและผลการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งมีพื้นฐานมากจากทฤษฏีตัวแทน (Agency Theory) ที่กล่าวว่าการเพิ่มระดับความเป็นเจ้าของให้กับคณะกรรมการบริษัทจะส่งผลต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้มีผลการดำเนินงานของบริษัทที่ดีขึ้น โดยได้ทำการเก็บข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2545-2547 ซึ่งพิจารณาจากสัดส่วนการถือครองหุ้นของกรรมการบริหาร กรรการที่ไม่ใช่กรรมการบริหาร และกรรมการทั้งหมดรวมทั้งตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน 4 ตัวชี้วัดได้แก่ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ (ROA) ผลตอบแทนของส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) และอัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลต่อกำไรสุทธิ (Dividend Payout Radio)ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 140บริษัทโดยการทำการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโพรดัคโมเมนต์ (Pearson product moment correlation) และวิเคราะห์แยกเป็นแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์ ผลการศึกษาสรุปว่าในภาพรวมของทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์ฯ สัดส่วนการถือครองหุ้นของกรรมการบริหารและกรรมการทั้งหมดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญในเชิงบวกกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ROA ละ Dividend Payout Ratio อย่างไรก็ตามในแต่ละอุตสาหกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนการถือครองหุ้นของกรรมการกับผลการดำเนินงานของบริษัทมีความแตกต่างกัน ซึ่งผู้ลงทุนสนใจที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมใดก็สามารถนำผลการศึกษาดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาการลงทุนได้ นอกจากนี้บริษัทยังสามารถที่จะนำผลการศึกษาดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาการให้ผลตอบแทนในรูปแบบของหุ้นที่เมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรมต่อไป
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)