รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง สรุปผลงานวิจัย: การจัดทำงบกระแสเงินสดและการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในช่วงปี 2537-2542
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.วรศักดิ์ ทุมมานนท์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.วรศักดิ์ ทุมมานนท์
คำอธิบาย / บทคัดย่อ นับแต่มีการประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 25 ซึ่งให้เริ่มถือปฎิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นมา การจัดทำงบกระแสเงินสดเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานการบัฐชียังจำกัดอยู่ แต่เฉพาะในวงแคบ มีแต่เฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนเท่านั้นที่จัดทำงบกะแสเงินสด เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทสไทยได้ออกหนังสือที่บจ.(ว) 86/2537 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2537 กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนจัดทำงบกระแสเงินสดสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป นอกจากนี้กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 กำหนดว่าบริษัทมหาชนจำกัดจะต้องจัดทำและนำส่งงบกระแสเงินสดนอกเหนือไปจากงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น งบกำไรสะสม และหมายเหตุประกอบงบการเงิน ขณะที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2519) ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัต ฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 มิได้กำหนดว่าบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และนิติบุคคล ต่างประเทศต้องจัดทำและนำส่งงบกระแสเงินสดต่อกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม หลังจากการประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ซึ่งกำหนดให้กิจการต้องเริ่มถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นมา บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และนิติบุคคลต่างประเทศ เริ่มจัดทำงบกระแสเงินสดกันมาขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และนิติบุคคลต่างประเทศ จัดทำและนำส่งงบกระแสเงินสดสำหรับรอบปีบัญชี 2542 ต่อกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ นอกเหนือจากงบดุล งบกำไรขาดทุน งลแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น งบกำไรสะสม และหมายเหตุประกอบงบการเงิน นอกจากนี้หลังจากพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (12 พฤษภาคม 2543) เป็นต้นมา ความจำเป็นที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัมจำกัด และนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องจัดทำและนำส่งงบกระแสเงินสดต่อกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ยิ่งมีมากขึ้น เนื่องจากมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติการบัญชี ระบุว่างบการเงินรวมถึงงบกำไรขาดทุน งบดุลและงบกระแสเงินสด เป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในงบกระแสเงินสดของบริษัทจดทะเบียนในช่วงที่ผ่านมา (2537-2542) มีแนวคิดทางปฏิบัติที่แตกต่างจากข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 25 เรื่อง งบกระแสเงินสด ในหลายๆประเด็น ตัวอย่างเช่น บริษัทจำแนกกระแสเงินสดเข้าสู่กิจกรรมไม่ถูกต้อง บริษัทแสดงการเงินสดรับและจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงินเป็นยอดสุทธิทั้งๆที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้แสดงกระแสเงินสดรับและเงินสดจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวแยกจากกันบริษัทนำรายการที่มิใช่เงินสดมารวมในงบกระแสเงินสด บริษัทไม่เปิดเผยรายการที่มิใช่เงินสดในหมายเหตุประกอบด้วยการเงิน เป็นต้น ส่วนหนึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจาก 1.การขาดการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำงบกระแสเงินสดที่ถูกต้อง กิจการบางแห่งเข้าใจว่ามาตรฐานการบัญชีมีแนวโน้มที่จำแนกกระแสรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการพิจารณากำไรหรือขาดทุนหรือไม่ หากรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นรวมอยู่ในการพิจารณากำไรหรือขาดทุน กระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับรายการหรือเหตุการณ์ดังกล่าวควรจำแนกเป็นกิจกรรมดำเนินงาน ขณะที่กิจการบางแห่งเข้าใจว่ามาตรฐานการบัญชีมีแนวโน้มที่จะจำแนกกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับรายการต่างๆ โดยพิจารณาสาเหตุที่ทำให้เกิดกระแสเงินสดที่เกี่ยวกับรายการนั้นๆ ขึ้น เช่น เงินปันผลรับ ควรจัดเป็นกระแสเงินสดจากการลงทุน เนื่องจากเป็นผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ทำให้งบกระแสเงินสดที่กิจการแต่ละแห่งจัดทำขึ้นยากต่อการเปรียบเทียบ 2.มาตรฐานการบัญชีเปิดโอกาสให้กิจการสามารถจำแนกกระแสเงินสดรายการเดียวกันเข้าสู่กิจกรรมได้มากกว่าหนึ่งประเภท เช่น เงินปันผลและดอกเบี้ยรับ เงินปันผลและดอกเบี้ยจ่าย ทำให้กิจการเกิดความสับสนในทางเลือกปฏิบัติและใช้เป็นเครื่องมือในการบิดเบือนกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 3.ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดทำงบกระแสเงินสดมีจำกัด ทำให้ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะ (1) ติดตามข้อมูลบางประเภทที่มีมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้แสดงตามลักษณะรายการที่สำคัญๆ และ (2) แยกรายการที่มิใช่เงินสดออกจากรายการที่เกี่ยวข้องกับเงินสด ตัวอย่างเช่น เงินสดจ่ายเพื่อซื้อที่ดินอาคารและอุปกรณ์และเงินสดที่ได้รับจากการขายที่ดินอาคารและอุปกรณ์เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนระยะยาวของกิจการอื่น และที่ได้รับจากการขายเงินลงทุนระยะยาวของกิจการอื่น กิจการมักจะแสดงกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับรายการดังกล่าวเป็นยอดสุทธิ แทนที่จะแสดงรายการดังกล่าวแยกเป็นอิสระจากกัน 4.ตัวอย่างประกอบในแต่ละย่อหน้าของมาตรฐานการบัญชีมีน้อยมากหรือไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ทำให้กิจการขาดแนวทางที่ชัดเจนที่จะใช้เป็นรากฐานในการจัดทำงบกระแสเงินสดที่ถูกต้อง เช่น ตัวอย่างของรายการที่มิใช่เงินสดตามที่ปรากฎในมาตรฐานการบัญชีมีเพียง 3 รายการ ทำให้กิจการไม่ได้ตระหนักว่า ยังมีรายการอื่นๆ อีกที่อยู่ในข่ายของรายการที่มิใช่เงินสดที่กิจการจะต้องเผยให้ทราบโดยแสดงต่อท้ายงบกระแสเงินสดหรือแสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ตัวอย่างเช่น กำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากเงินลงทุนในหลักทรัพย์ชนิดเผื่อขาย การแปลงสภาพหนี้สินระยะสั้นไปเป็นหนี้สินระยะยาว เป็นต้น
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนักบัญชี
ปีที่ 47
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 37 - 55
ปีพิมพ์ 2543
ชื่อสำนักพิมพ์ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6009
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)