รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในนโยบายและแผนการตลาดของวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง
ชื่อเรื่องรอง Applying the philosophy of sufficiency economy in policies and marketing plans of small and medium enterprises (SMEs)
ชื่อผู้แต่ง
1.กุณฑลี รื่นรมย์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง
หัวเรื่องควบคุม
1.ธุรกิจขนาดย่อม
2.ธุรกิจขนาดกลาง
คำอธิบาย / บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการทราบว่าผู้ประกอบการ SMEs รับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพียงใด และ SMEs ได้มีการนำปรัชญานี้ไปประยุกต์ในการกำหนดนโยบายและแผนการตลาดขององค์กรเพียงใดและในด้านใดบ้าง รวมทั้งต้องการทราบว่าปรัญชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ประกอบด้วยปัจจัย 5 ประการ ได้แก่ความพอประมาณร ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกัน ความรู้และคุณธรรม มีความกลมกลืนกับข้อมูลการดำเนินงานวัจัยเชิงปริมาณของ SMEs หรืิอไม่ การออกแบบงานวิจัยเป็นทั้งงานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จำนวน 15 ราย และนำข้อมูลทีได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาแบบสอบถาม เพื่อใช้ในการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้ประกอบการ SMEs ทั้งสิ้น 1,520 ราย แบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนที่มีความสมบรูณ์มีจำนวน 325 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.38 ของจำนวนแบบสอบถามที่ส่งออกไปทั้งหมด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการทดสอบสมมติฐานพบว่าผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่มีความเชื่อและทราบความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพิเพียง และได้มีการนำปรัชญานี้ไปประยุกต์ใช้ในนโยบายและแผนการตลาดของ SMEs ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในหลากหลายด้านการดำเนินธุรกิจและสามารถบรรลุผลในภาพรวมผู้ประกอบการจะประยุกต์ปรัชญาในการทำธุรกิจต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยันพบว่า ปรัชญาเศรษฐฏิจพอเพียงมีความกลมกลืนกับการดำเนินธุรกิจของ SMEs จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ งายวิจัยเรื่องนี้ทำให้ได้ทราบถึงข้อมูลที่มีประโยชน์ในการประยุกต์ปรัชญาเศรษกิจพอเพียงมีความกลมกลืนกับการดำเนินธุรกิจของ SMEs จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ งานวิจัยเรื่องนี้ทำให้ได้ทราบถึงข้อมูลที่มีประโยชน์ในการประยุกต์ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงของธุรกิจสำหรับ SMEs โดยเฉพาะการสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในอนาคต
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 35
ฉบับที่ 135
หน้าที่ 49 - 79
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)