รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
บทบรรณาธิการตัวแทนเสียงของหนังสือพิมพ์
|
ชื่อเรื่องรอง |
Editorials representing the voice of the newspaper
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | บทบรรณาธิการ |
2. | หนังสือพิมพ์ |
3. | อัตตวิสัย |
4. | ความคิดเห็น |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การเขียนบทความ |
2. | ความเรียง |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ในสังคมประชาธิปไตยสื่ิหนังสือพิมพ์มีประสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ จึงเกิดพื้นที่เฉพาะสำหรับการแสดงทัศนะของหนังสือพิมพ์ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสังคมที่เรียกว่า บทบรรณาธิการ ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความคิดเห็นที่นำเสนอจะบ่งบอกถึงนโยบายและจุดยืนของหนังสืิอพิมพ์ทั้งฉบับอย่างชัดเจน เพราะมีลักษณะเป็นอัตตวิสัยซึ่งผู้เขียนสามารถแสดงบทบาทการกลั่นกรองข่าวสาร กำหนดวาระข่าวสาร รายงานและอธิบายเหตุการณ์จนผู้อ่านเกิดความกระจ่างชัดเนื่ิองจากผู้เขียนต้องวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบ อ้างอิงข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ด้วยลีลาการเขียนที่มีพลังจนสามารถกระตุ้นความคิดและอารมณ์ของผู้อ่าน เทคนิคที่ทำให้บทบรรณาธิการมีพลังยิ่งขึ้นในฐานะตัวแทนเสียงของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ คือการย้ายตำแหน่งจากหน้าประจำมาไว้ในหน้าหนึ่งแทนในชื่อ หมายเหตุหน้าที่หรือ Page One Comment เพื่อเน้นย้ำว่าสถานการณ์ของเรื่องอยู่ในสภาวะวอกฤตและสำคัญต่อสังคม เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่าบทบรรณาธิใช้ถ้อยคำที่หนักแน่นในการนำเสนอความคิดเห็น และเสริมด้วยจังงหวะเวลาการนำเสนอที่เหมาะสม จึงทำให้บทบบรณาธิการยังคงความเป็นตัวแทนเสียงของหนังสือพิมพ์ต่อไป
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)