รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
สัมพันธบทข้ามสื่อและข้ามวัฒนธรรมเรื่อง "ริง" ในนวนิยาย ภาพยนต์ ละครโทรทัศน์ และหนังสือการ์ตูน
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | วิชยุตม์ ปูชิตากร |
2. | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | สัมพันธบทข้ามสื่อ |
2. | นวนิยาย |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การสื่อสารและการแสดง |
2. | สังคมและวัฒธรรม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะสัมพันธบทข้ามสื่อ เรื่อง "ริง" ในนวนิยาย ภาพยนต์ ละครโทรทัศน์และหนังสือการ์ตูน รวมถึงการวิเคราะห์ลักษณะสัมพันธบทข้ามวัฒนธรรม เรื่อง ริง ในภาพยนต์ญี่ปุ่น ภาพยนต์เกาหลี และภาพยนต์ฮอลลีวูด อีกทั้งวิเคราะห์ลักษณะเด่นของสัมพันธบท โดยอาศัยแนวคิดต่างๆเป็ฯแนวทางในการวิเคราะห์ ซึ่งได้แก่ แนวคิดการเล่าเรื่อง แนวคิดประเภทสื่อ แนวคิดสัมพันธบทและการดัดแปลง รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรรมกับการสื่อสาร
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะสัมพันธบทข้ามสื่อ เรื่อง "ริง" ในนวนิยาย ภาพยนต์ ละครโทรทัศน์ และหนังสือการ์ตูน มีการดัดแปลงตัวบทหลายในหลายรูปแบบ ทั้งคงเดิม เพิ่มเติม ตัดทอน และปรับเปลี่ยน โดยการดัดแปลงนวนิยาย/ เรื่องสั้นเป็นภาพยนตร์ มีการปรับเปลี่ยนแนวเรื่องและโครงเรื่อง ให้มีความสยองขวัญมากขึ้น การดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มตัวบทบาท โดยการผสมผสานเนื้อหาในนวนิยายเล่มแรกกับเล่มที่สองไว้ด้วยกัน ส่วนหนีงสือการ์ตูนที่ดัดแปลงจากทั้งนวนิยาย/ เรื่องสั้น และภาพยนตร์ มีการดัดแปลงในลักษณะที่ยังคงตัวบทไว้ตามต้นฉบับเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ลักษณะสัมพันธบทข้ามวัฒนธรรมเรื่อง ริง ในภาพยนตร์ญี่ปุ่น ภาพยนตร์เกาหลี และภาพยนตร์ฮอลลีวูด ก็มีการดัดแปลงตัวบทในหลายรูปแบบเช่นกัน อีกทั้งดัดแปลงตัวบทที่เป็นบริบททางสังคมวัฒนธรรมร่วมด้วย สัมพันธบทข้ามสื่อเรื่อง ริง มีลักษณะเด่นคือ มีการตัดดัดแปลงรูปแบบในการนำเสนอให้เข้ากับธรรมชาติของสื่อที่ใช้นำเสนอ อีกทั้งดัดแปลงเนื้อหาสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของสื่อนั้นๆ ส่วนสัมพันธบทข้ามวัฒนธรรมเรื่อง ริง มีลักษณะเด่นคือ การดัดแปลงบริบททางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงดัดแปลงเนื้อหา ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในสังคมและวัฒนธรรมที่ต่างออกไป
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)