รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การวัดมูลค่ายุติธรรมด้วยเทคนิคกระแสเงินสดคิดลด
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | วิศรุต ศรีบุญนาค |
2. | ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | เทคนิคกระแสเงินสด |
2. | การวัดมูลค่ายุติธรรม |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | กระบวนการยุติธรรม -- การบริหาร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวักมูลค่ายุติธรรมด้วยเทคนิคกระแสเงินสดคิดลดจำเป็นต้องมีการปรับตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณด้วยความเสี่ยงของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้การวัดมูลค่ายุติธรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและเชื่อถือได้ วิะีการปรับความเสี่ยงในแบบจำลองสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ (1) เทคนิคการปรับอัตราคิดลด และ (2) เทคนิคมูลค่าปัจจุบันที่ค่าคาดหวังโดยทั่วไป ค่าเฉลี่ยหรือฐานนิยมเป็นพื้นฐานในการกำหนดประมาณการที่ดีที่สุดของกระแสเงินสดที่คาดหวัง การเลือกตัวชี้วัดทางสถิติดังกล่าวขึ้นอยู่กับลักษณะของกระแสเงินสดที่จะเกอดขึ้นจากสินทรัพย์หรือหนี้สินที่กิจการจะวัดมูลค่ายุติธรรมและวัตถุประสงค์ของการวัดมูลค่ายุติธรรม การวัดมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินต้องพิจารณาความเสี่ยงที่กิจการจะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาอันเกิดจากความเสี่ยงด้านเครดิตของกิจการ การปรับมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินลดลงและก่อให้เกิดกำไรในสภาพแวดล้อมที่กิจการมีปัญหาและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติที่เกิดขึ้น ความเสี่ยงที่กิจการจะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้เกิดจากมูลค่าขิงสินทรัพย์ที่ลดลงและมีความเป็นไปได้บางส่วนที่เจ้าหนี้อาจต้องร่วมรับรู้ผลขาดทุนนั้น ทำให้มูลค่ายุติธรรทของหนี้สินลดลงและก่อให้เกิดกำไรเชิงเศรษฐกิจแก่เจ้าของ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)