รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การบริหารจัดเก็บภาษีอากรของกรมสรรพากร
|
ชื่อเรื่องรอง |
Tax management of the revenue department
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การบริหารจัดการภาษีอากรแนวใหม่ของกรมสรรพากร |
2. | การบริหารจัดเก็บภาษีอากรโดยหลักการบริหารความเสี่ยง |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การจัดเก็บภาษี |
2. | ภาษี -- การบริหาร |
3. | การจัดเก็บภาษี -- การบริหาร -- ไทย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้กล่าวถึงแนวทางการบริหารจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่ นั่นคือ การบริหารจัดเก็บภาษีอากรโดยหลักการบริหารความเสี่ยง ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารจัดเก็บภาษี โดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มตามลักษณธและพฤษติกรรม และเลือกใช้เครื่องมือบริหารความเสียงที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เสียภาษีแต่ละกลุ่มปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรโดยหลักการบริหารความเสี่ยงของไทยตามกรอบระยะเวลาการดำเนินการ เนื่องจากการจัดเก็บภาษีแบบเก่า กรมสรรพากรต้องทำการตรวจสอบภายหลังผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการ ต้องใช้ระยะเวลาตรวจสอบนาน โดยประสบปัญหางานค้างและการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างจำนวนมาก แต่การบริการจัดเก็บภาษีอากรแนวใหม่ โดยหลักการบริหารความเสี่ยง เป็นหลักการบริหารจัดเก็บภาษีที่กรมสรรพากรจะเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับพฤษติกรรมของผู้เสียภาษี ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ผู้ประกอบการที่สมัคใจจะเป็นผู้เสียภาษีที่ดีทำข้อตกลง โดยกรมสรรพากรจะใช้เครื่องมือส่งเสริมให้ความรู้ด้านภาษี การกำกับดูแล การคืนภาษีอากร และการให้คำปรึกษาอย่างทันท่วงที โดยมีเครือข่ายสนับสนุน เช่น สำนักงานบัญชีคุณภาพจะมี New TA และ CPA ที่มีคุณภาพ เพื่อให้ได้คำปรึกษาด้านภาษีอากร และการตรวจสอบด้านภาษีก่อนการยื่นแบบเสียภาษี ซึ่งจะทำให้การยื่นเสียภาษีมีความถูกต้องมากที่สุด นโยบายการบริหารการจัดการเก็บภาษีอากรแนวใหม่มีความจำเป็นเพื่อรองรับระบบเขตการค้าเสรี AFTA และ AEC ในปี พ.ศ. 2558 เพื่อจัดเก็บกับปัญหาหรือเงื่อนไขของการค้าระหว่างประเทศที่ทำให้การได้เปรียบหรือเสียเปรียบหมดไปหรือมีน้อยที่สุด และเพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวสู่การเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีชั้นแนวหน้าในภูมิภาคต่อไป
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)