รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Innovation analysis for business productivity
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะเกณฑ์มาตรฐาน |
2. | นวัตกรรม |
3. | ช่วงความเชื่อมั่น |
4. | สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ |
5. | การทดสอบสอบหาค่าผิดปกติ |
6. | การทดสอบกลุ่มตัวอย่าง |
7. | การทดสอบการแจกแจงแบบปกติ |
8. | การทดสอบการแจกแจงแบบปกติ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การแจกแจง -- ความน่าจะเป็น |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือ การนำเสนอวิธีการพิสูจน์และวิเคราะห์นวัตกรรมใหม่โดยการใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติเป็นเครื่องมือ นวัตกรรมใหม่ ถูกนิยามโดยใช้ช่วงความเชื่อมั่นความหนาแน่นของการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบปกติในระยะ μ±2σ=0.95 และกำหนดให้ความหนาแน่นของการแจกแจงความน่าจะเป็นนอกระยะ คือ ±α=0.05 เป็นระยะการวิเคราะห์นวัตกรรมใหม่ ทั้งนี้ ความหนาแน่นของการแจกแจงความน่าจะเป็นช่วงบน คือ +α=0.025 และช่วงล่างคือ -α= -0.025 ของเส้นโค้งรูประฆัง ซึ่งเป็นขอบเขตในการสนับสนุนว่ามีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น การพิสูจน์นวัตกรรมใหม่สามารถกระทำได้โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างจากค่าเฉลี่ย ของปริมาณผลิตผลภายในองค์กรโดยใช้ปริมาณผลิตผลของอุตสาหกรรมเป็นตัวเลขอ้างอิง นวัตกรรมใหม่ยังสามารถพิสูจน์ได้เมื่อไม่มีจุดอ้างอิงจากภายนอก โดยใช้วิธีการทดสอบค่าแตกต่างระหว่างตัวแปรน้อยที่สุดกับตัวแปรมากที่สุดของ Dixon
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)