รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประเมินประสิทธิภาพองค์กรด้วยวิธีการ DEA: ตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ประสิทธิภาพองค์กร |
2. | การพัฒนาองค์การ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้ ผู้เขียนนำเสนอเพิ่มเติมต่อจากบทความที่ได้เขียนไว้ในวารสารบริหารธุรกิจ ฉบับที่ 108 ตุลาคม – ธันวาคม 2548 เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพองค์กรด้วยเครื่องมือทาง
คณิตศาสตร์ที่เรียกว่า Data Envelopment Analysis (DEA) โดยครั้งนี้ได้เปรียบเทียบคะแนนประสิทธิภาพระหว่าง 2 ตัวแบบของวิธีการ DEA คือ ตัวแบบ CCR (Charnes Cooper and Rhodes (1978)) และตัวแบบ BCC (Banker Charnes and Cooper (1984) ) ซึ่งทั้งสองตัวแบบมีพื้นฐานการคำนวณจากการโปรแกรมเชิงเส้น (Linear Programming) ดังนั้น จึงช่วยลดปัญหาของข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามข้อสมมติในการวิเคราห์ข้อมูล เช้น ข้อมูลที่จะวิเคราะห์ต้องมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution) หรือการที่ข้อมูลต้องแปรปรวนเท่ากัน (Equal Variances) เป็นต้น ความแตกต่างระหว่างตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะขององค์กรที่ถูกประเมินและการตีความทางเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้กล่าวตั้งแต่แนวคิดเบื้องต้นของการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรการประเมินประสิทธิภาพองค์กรด้วยวิธีการ DEA ของตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC ก่อนที่จะนำไปสู่การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานรวม การประเมินประสิทธิภาพด้านเทคนิค และการประเมินประสิทธิภาพด้านขนาด สำหรับองค์กรที่ถูกประเมินและพบว่า องค์กรของตนเองไม่มีประสิทธิภาพการดำเนินงาน จะเป็นประโยชน์ในแง่การปรับปรุงเพื่อนำองค์กรไปสู่การมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ทำให้ทราบว่าควรปรับปรุงองค์กรในด้านใดและตรงจุดไหน ถือเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพองค์กรอย่างมีเป้าหมาย และถูกจุด แต่หากพบว่าองค์กรของตนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพก็จะเป็นประโยชน์เช่นกัน เพราะทำให้ทราบจุดแข็งและสามารถนำจุดแข็งไปวางเป็นกลยุทธ์สร้างความเข้มแข็งให้กลับองค์กรเพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ ผลจากคะแนนการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานทำให้ผู้บริหารองค์กรทราบว่า องค์กรของตนอยู่ตรงจุดไหน เมื่อเทียบกับคุ่แข่ง และควรที่จะลดหรือเพิ่มปัจจัยที่ใช้ในการผลิตด้านใด ปริมาณเท่าไร ในทำนองเดียวกันองค์กรคสรจะเพิ่มหรือลดจำนวนผลผลิตตรงส่วนไหนและอย่างไร เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)