รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การตลาดกับการค้าทุเรียนของไทย
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.จีระภา โตสมบุญ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ทุเรียน -- การตลาด
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ทุเรียนเป็นราชาผลไม้ที่ชาวไทยนิยมและเป็นผลไม้ส่งออกลำดับหนึ่งของประเทศ กำลังพบกับปัญหาทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ ปัญหาของตลาดในประเทศเกิดทั้งในส่วนของผู้บริโภคและช่องทางการจัดจำหน่าย กล่าวคือ แม้ประชากรไทยจะนิยมบริโภคผลไม้เพิ่มขึ้นแต่กลับบริโภคทุเรียนลดลง ทั้งนี้เกิดจากคุณสมบัติของทุเรียนที่ให้ค่าพลังงานสูง และเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพของผู้บริโภค ในส่วนของช่องทางพ่อค้าเร่และแม่ค้าแผงลอย ซึ่งใช้ราคาเป็นหลักจะขายแบบเหมาลูกซึ่งมากเกินความต้องการและถ้าเลือกและปอกเปลือกทุเรียนไม่เป็นจะได้ทุเรียนดิบ ไส้ซึม หรือสุกงอม ผู้บริดภคจึงให้ความสนใจที่จะซื้อทุเรียนจากช่องทางแบบใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่เพราะทุเรียนเป็นผลไม้ที่ต้องการดูแลเป็นกรณีพิเศษ และใช้ผู้ที่มีความชำนาญในการคัดเลือกและปอกทำให้ช่องทางเกิดปัญหาในการหาคน สำหรับตลาดทุเรียนในต่างประเทศแม้ทุเรียนจะเป็นผลไม้ที่ประเทศไทยส่งออกเป็นลำดับหนึ่งและมีมูลค่าการส่งออกถึงหนึ่งในสามของการส่งออกผลไม้สดและผลไม้แช่แข็งรวม แต่เมื่อศึกษาโดยละเอียดแล้วจะพบว่าการส่งออกร้อยละ 99 เป็นการส่งออกไปตลาดล่าง ส่วนใหญ่เป็นการส่งขายประเทศจีน โดยขายผ่านพ่อค้าส่งและเป็นการขายในลักษณะฝากขายประกอบฤดูกาลของทุเรียนคาบเกี่ยวกับฤดูของผลไม้ท้องถิ่นมีราคาถูกว่า ทำให้ผู้ส่งออกเสี่ยงภัยกับการขาดทุน นอกจากนั้นการที่มีการแข่งขันกันส่งออกทำให้เกิดปัญหาด้านการจองระวางเรือและเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง การแก้ไขปัญหาทุเรียนที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ ให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทำการค้นคว้าวิจัยถึงประโยชน์ที่แท้จริงของทุนเรียน (Customer Value) พร้อมทั้งศึกษาวิธีการบริโภคและปริมาณการบริโภคที่เหมาะสม เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปสื่อสารต่อให้ผู้บริโภค (Communication) นอกจากนี้การขายทุเรียนทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องคำนึงถึงเรื่องความสะดวกของผู้บริโภค (Convenience) ทั้งความสะดวกในการบริโภคและความสะดวกในการเลือกซื้อ ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Package) ที่เหมาะสมที่ช่วยในการป้องกันกลิ่น ช่วยยืดอายุสินค้าและอื่นๆ โดยแกะขายเฉพาะเนื้อทุเรียนและบรรจุทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสมกับการบริโภคแต่ละครั้ง การกระทำดังที่กล่าวจะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้นเพราะได้รับความคุ้มค่า (Low Cost) ในการบริโภคแต่ละครั้ง และช่วยให้ผู้ส่งออกลดภาระค่าขนส่งและแก้ปัญหาด้านระวางเรือ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถเพิ่มการขายเข้าช่องทางการจัดจำหน่ายแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารธุรกิจ
ปีที่ 29
ฉบับที่ 112
หน้าที่ 11 - 30
ปีพิมพ์ 2549
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-233x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)