รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การกำหนดราคาเพื่อกำไรสูงสุด
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดทางการตลาดที่แตกต่างไปจากการกำหนดราคาแบบทั่วไป วิธีการกำหนดราคาเพื่อกำไรสูงสุด เป็นการนำเสนอแนวคิดที่แตกต่างจากวิธีการกำหนเราคาต้นทุน (Cost-based pricing method) และการกำหนดราคาเพื่อเพิ่มส่วนครองตลาด (Market share-driven pricing method)บทความนี้อธิบายถึงข้อดีข้อเสียของวิธีการกำหนดราคาแบบเดิมทั้งสามแบบ และนำเสนอแนวคิดในการกำหนดราคาเพื่อกำไรสูงสุด (Maximized-profit pricing method )โดยใช้ข้อดีของวิธีการกำหนดราครทั้งสามวิธีมาประกอบกันและกำจัดข้อเสียของวิธีการกำหนดราคาทั้งสามวิธี
วิธีการกำหนดราคาจากต้นทุน (Cost-based pricing method) เป็นลักษณะการกำหนดราคาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและนำไปปฏิบัติได้ง่าย แต่มีข้อเสียหลายประการ ซึ่งข้อเสียที่สำคญคือ ราคาที่ถูกกำหนดไม่ได้สะท้อนคุณค่าของสินค้าและไม่ได้เชื่อมโยงกับราคาที่ลูกค้ายินดีจะจ่าย ส่วนวิธีการกำหนดราคาจากคุณค่าของสินค้า (Value-based pricing method) มีข้อเสียสัญคือ วิธีกำหนดราคาจากคุณค่าของสินค้าทดแทนและคู่แข่งขันและที่สำคัญคือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผันผวนของราคาขาย ณ เวลาในอนคต และต้นทุนวัตถุดิบที่ซื้อมาในอดีต ซึ่งส่งผลกระทบต่อความผันผวนของกำไรหรืออาจจะขาดทุน วิธีการกำหนดราคาเพื่อเพิ่มส่วนครองตลาด (Market share-driven pricing method) มีข้อเสียที่สำคัญคือ การกำหนดราคาขายต่ำ เพื่อมุ่งเน้นการเพิ่มขึ้นของยอดขาย ซึ่งอาจจะทำลายความสามารถในการทำกำไรขององค์กรระยะยาว และจะเป็นตัวเร่งก่อให้เกิดสงครามราคา
วิธีการกำหนดราคาเพื่อกำไรสูงสุด (Maximized-profit pricing method ) เป็นการผนวกแนวคิดการกำหนดราคาโดยคำนึงถึงลูกค้าเป้าหมาย คุ่แข่งขัน และความผันผวนของต้นทุนในอดีตกับราคาขายในอนาคต แนวคิดที่สำคัญคือการให้ความสำคัญกับอนาคต และกลยุทธ์ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เพื่อให้องค์ได้กำไรมากขึ้นในอนาคต โดยไม่ให้ความสำคัญกับความผิดพลาดในอดีตที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งอาจจะทำลายความสามารถในการทำกำไรขององค์กรในอนาคต วิธีการกำหนดราคาในลักษณะนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการกำหนดราคาของลูกค้าแต่ละราย แต่ละส่วนตลาด ในตลาดสินค้าอุตสาหกรรมที่มีการปรับเปลี่ยนราคาสินค้าบ่อย และสามารถนำไปใช้ในช่วงเวลาที่ต้องการปรับเปลี่ยนราคาเมื่อสถานการณ์ทางการตลาดเปลี่ยนไป
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)