รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประเมินประสิทธิภาพองค์กรด้วยวิธีการ DEA: ตัวแบบ RCCR และ การคำนวณด้วย Excel
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ประสิทธิภาพองค์กร |
2. | การพัฒนาองค์การ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้ ผู้เขียนต้องการนำเสนอตัวแบบ RCCR ของวิธีการ Data Envelopment Analysis (DEA) ที่พัฒนาขึ้นโดย Andersen and Petersen (1993) และการคำนวณวิธีการ DEA ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel หลังจากที่ผู้เขียนได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับวิธีการ DEA เพื่อการประเมินประสิทธฺภาพการดำเนินงานขององค์กรไว้เป็นเบื้องต้นบ้างแล้วในวารสารบริหารธุรกิจ ฉบับที่ 108 ตุลาคม-ธันวาคม 2548 และ ฉบับที่ 112 ตุลาคม – ธันวาคม 2549 ข้อดีของคะแนนประสิทธิภาพจากตัวแบบ RCCR คือ สามารถเรียงลำดับความมีประสิทธิภาพต่ำสุดไปจนถึงองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยยังคงแนวคิดสำคัญของวิธีการ DEA ไว้ นั่นคือ การจำแนกระหว่างองค์กรที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานและองค์กรที่ไม่มีประสิทธิภาพการดำเนินงาน เนื้อหาในบทความฉบับนี้ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1)บทนำ เป็นการเกริ่นถึงลักษณะทั่วไปของวิธีการ DEA และการตัดสินใจเมื่อพิจารณาจากหลายปัจจัย 2)ตัวอย่างเป็นข้อมูลจากรายงานวิจัยของ Kao and Hung (2006) และผู้เขียนใช้เป็นตัวอย่างในการคำนวณตัวแบบ CCR ตัวแบบ BCC และตัวแบบ RCCR 3)ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแบบ CCR ตัวแบบ BCC และตัวแบบ RCCR เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ตัวแบบ โดยแสดงตัวอย่างและการแจกแจงของแต่ละตัวแบบในรูปการโปรแกรมเชิงเส้นอย่างละเอียด 4)การคำนวณวิธีการ DEA ด้วย Excel โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอน แรกจนถึงได้ผลละพธ์เป็นคะแนนประสิทธิภาพ และข้อควรระวังในการคำนวณวิธีการ DEA ด้วยโปรแกรม Excel
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)