รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประเมินประสิทธิภาพองค์กรด้วยวิธีการ DEA: การเรียงลำดับประสิทธิภาพของตัวแบบ CCR และ BCC
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การวางแผนเชิงกลยุทธ์ |
2. | ประสิทธิภาพองค์กร |
3. | การพัฒนาองค์การ |
4. | การจัดการองค์การ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ แนวทางของ Jahanshahloo et al. (2007) :ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดการเรียงลำดับความมีประสิทธิภาพขององค์กรด้วยวิธีการ Data Envelopment Analysis (DEA) จากตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC เนื่องจากทั้งตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC นั้นสามารถจัดเรียงความมีประสิทธิภาพได้เฉพาะในองค์กรที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่านั้นส่วนองค์กรที่มีประสิทธิภาพจะมีประสิทธิภาพเท่ากับ 1 เหมือนกันทั้งหมดดังนั้น เมื่อนำแนวทางของ Jahanshahloo et al. (2007) ร่วมกับตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC ก็จะทำให้สามารถจัดเรียงความมีประสิทธิภาพของทุกองค์กรได้ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งแง่การนำไปประยุกต์ใช้ ในแง่วิชาการ บทความจะได้นำเสนอตั้งแต่บทนำซึ่งเป็นการกล่าวความสำคัญของวิธีการ DEA โดยเฉพาะตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC ที่มีการนำไปใช้งานวิจัยที่หลากหลาย ถัดจากนั้น จะกล่าวได้ถึงข้อจำกัดของตัวแบบ CCR และตัวแบบ BCC ตามด้วยการนำเสนอแนวทางของ Jahanshahloo et al. (2007) ในการจัดเรียงความมีประสิทธิภาพองค์กร เพื่อให้เข้าใจแนวทางของ Jahanshahloo et al. (2007) มากขึ้น ผู้เขียนได้นำข้อมูลของ Amirteimoori and Kordrostami (2005) มาใช้เป็นตัวอย่างในการจัดเรียงลำดับความมีประสิทธิภาพในตัวแบบ CCR โดยแสดงเป็นขั้นตอนตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้มีการเปรียบเทียบ แนวทางของ Jahanshahloo et al. (2007)กับการจัดเรียงความมีประสิทธิภาพองค์การจากตัวแบบ RCCR ไว้ด้วยผลการวิจัยเชิงประจักษ์ของประสพชัย ดนัยา และเอก (2551) และในตอนท้ายผู้เขียนได้ทำการสรุปแนวทางของ Jahanshahloo et al. (2007)สำหรับการนำไปใช้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)