รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
เปิดมุมมองบรรษัทภิบาลไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ(Organization for Economic Cooperation and Development: OECD) ได้ให้ความหมายของการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance) หรือบรรษัทภิบาลว่า หมายถึง “ระบบกำกับและควบคุมกิจการ โดยการแบ่งแยกสิทธิและหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ซึ่งกำหนดเป็นหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อใช้ในการตัดสินใจในกรณีต่างๆ ขึ้นในกิจการโดยยึดวัตถุประสงค์ของกิจการเป็นสำคัญ”ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ให้ความหมายว่า “ระบบที่จัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ความเจริญเติบโตและเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ”
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยปัจจัยหลายประการเพื่อให้กิจการสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หนึ่งในหลายปัจจัยที่สำคัญคือ การส่งเสริมให้กิจการมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี แนวคิดการทำธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเปรียบเสมือนจรรยาบรรณของคนทำธุรกิจที่ใส่ใจกับหลักคุณธรรม ควบคู่ไปกับความอยู่รอดแกละการเติบโตอย่างยั่งยืนของกิจการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงกล่าวได้ว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)