รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
กลไกบรรษัทภิบาลเพิ่มมูลค่ากิจการจริงหรือไม่
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ฉบับก่อนได้ทิ้งท้ายไว้ว่ากลไกการกำกับดูแลกิจการจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มได้จริงหรือไม่นั้น สิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ได้ ก็คืนงานวิจัย คอลัมน์ประจำในครั้งนี้จึงของกล่าวถึงงานวิจัยที่มีผู้วิจัยทำกันมาอย่างต่อเนื่อง
งานวิจัยหลายงานได้พิสูจน์ว่ากลไกบรรษัทภิบาลช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กิจการจริงหรือไม่ เช่น Brown และCaylor (2004) ได้จัดอันดับคะแนนของการกำกับดูแลกิจการของบริษัทในสหรัฐอเมริกาจำนวน 2,327บริษัท โยผูกกับผลการดำเนินงาน 3ด้านของปี พ.ศ.2545 ซึ่งได้แก่ (1) Operating Performanceโดยใช้ตัววัดคือ Return on Equity, Profit Margin และ Sales Growth (2) Firm Value โดยใช้ Tobin’s Q เป็นตัววัด และ (3) Shareholder Payout โดยใช้ Dividend Yield และ Stock Repurchases เป็นตัววัด จากการวิจัยพบว่า บริษัทที่จัดให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีแนวโน้มที่จะมีผลการดำเนินงานทั้ง 3 ด้านดีตามไปด้วย นอกจากนี้ Gompers et al จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาจำนวน 1,500 บริษัท โดยใช้ข้อมูลในปี พ.ศ.2533 ซึ่งจากงานวิจัยพบว่ากิจการที่มีคุณภาพในเรื่องของสิทธิของผู้ถือหุ้นหรือกิจการที่จัดให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะมีสหสัมพันธ์ในเชิงบวกกับผลตอบแทนที่จะได้รับจากการถือหุ้น โดยใช้ Tobin’s Q เป็นตัววัดในแง่ของ Firm Value และใช้ Net Profit Margin เป็นตัววัดในเรื่องของ Operating Performance
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)