รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ตัวแบบการจัดการองค์การเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ทวีเกียรติ ประพฤทธิ์ตระกูล |
2. | ยุวัฒน์ วุฒิเมธี |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การจัดการองค์การ |
2. | อุตสาหกรรมเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า |
3. | อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อันนำมาสู่การหาตัวแบบการจัดการองค์การที่เหมาะสมมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การเหล่านั้น การศึกษาครั้งนี้มุ่งไปที่อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ดำเนินการในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาตัวแบบการจัดการองค์การและนำไปสู่องค์การที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน
การวิจัยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 336 บริษัท โดยใช้แบบสอบถามเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การกับปัจจัยที่เป็นตัวแบบการจัดองค์การทั้ง 9 ปัจจัย ได้แก่ 1) ผู้นำ 2)การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3)ผลิตภัณฑ์ 4)เทคโนโลยี 5)บุคลากร 6)การจัดการความรู้ 7)การสื่อสาร 8)วัฒนธรรมองค์กร และ 9)ภาพลักษณ์องค์การ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบ Spearman การวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียวแบบนอนพาราเมตริกโดยวิธี Kruskal-Wallis ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูงจำนวน 5 องค์การ ผลการวิจัยพบว่าความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตกับปัจจัยที่เป็นตัวแบบการจัดการองค์การทั้ง 9 ปัจจัย โดยผู้นำแบบสร้างสรรค์มีบทบาทในการประสานตัวแบบการจัดการองค์การให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ณ ช่วงเวลานั้น ผ่านทางการวางแผนเชิงกลยุทธ์ อาทิ การจัดการความรู้ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากร และการจัดการภาพลักษณ์องค์การ รวมทถึงการเลือกประเภทของวัฒนธรรมและเทคโนโลยีต้องทำให้เหมาะสมกับประเภทของผลิตภัณฑ์โดยการประสมประสานระหว่างวัฒนธรรมแบบตั้งรับ – ก้าวร้าวกับวัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์ ร่วมเทคโนโลยีทางวิศวกรรมกับเทคโนโลยีเฉพาะ อันจะทำให้องค์การเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างรวดเร็วและยั่งยืน
ภาพรวมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ดำเนินการในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่ายังสามารถพัฒนาให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันได้ โดยการปรับตัวแบบการจัดการองค์การให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมองค์การที่เป็นอยู่ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองขึ้นมา อันเป็นเป้าหมายที่จะทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวคงไว้ที่ประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา รวมถึงภาคเอกชน นอกจากนี้การศึกษานี้ยังทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจต่อตัวแบบการจัดการองค์การใหม่ๆ อันนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์การอื่นต่อไป
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)