รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ |
2. | พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ |
3. | อัจฉรา จันทร์ฉาย |
4. | ประกอบ คุปรัตน์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การเป็นผู้ประกอบการ -- นวัตกรรม |
2. | การประกอบการ -- นวัตกรรม |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | นวัตกรรม |
2. | นวัตกรรมทางธุรกิจ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
จากการทบทวนวรรณกรรมในเรื่องเกี่ยวกับความหมาย ประเภท และความสำคัญของนวัตกรรมที่มีต่อผู้ประกอบการ ทำให้สามารถสรุปได้ว่า การให้ความหมายของนวัตกรรมมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ตามพื้นบานความรู้ของผู้ให้คำนาม แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เป็นแก่นหลักของการให้ความนิยามของนวัตกรรม ก็จะประกอบด้วยมิติทางด้าน 1) ความใหม่ (Newness) 2 ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ (Economic Benefit ) และ 3)การใช้ความรู้แนวคิดสร้าง (Knowledge and Creativity Ldea) ส่วนการจำแนกประเภทของนวัตกรรมอาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ตามบริษัทและเป้าประสงค์ของการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม จากการทบทวนวรรณกรรมผู้เขียนพบว่า การจำแนกนวัตกรรมมีมุมมองได้ 3 มิติ คือ 1)มิติด้านเป้าหมายของนวัตกรรม สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) และนวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) 2) มิติด้านการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม พบว่ามีการแบ่งประเภทของนวัตกรรมตามระดับหรือลักษณะของการเปลี่ยนแปลงได้ 2 ประเภท คือ นวัตกรรมที่มีลักษณธเฉียบพลัน (Radical Innovation) และนวัตกรรมที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ( Incremental Innovation) และ 3)มิติด้สยการส่งผลต่อขอบเขตของการดำเนินงาน พบว่ามีการแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นวัตกรรมด้านเทคดนเลยี (Technological Innovation) นอกจากนี้ยังพบว่านวัตกรรม ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็เป็นกลไกสำคัญในการสร้างนวัตกรรม
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)