รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต่อระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรม: กรรีศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | องค์การแห่งการเรียนรู้ |
2. | องค์กรแห่งนวัตกรรม |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต่อระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และระดับเป็นองค์กรนวัตกรรม 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต่อระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรม: กรรีศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ 7 ปัจจัยประกอบด้วย 1)โครงสร้างที่เหมาะสม 2)วัฒนธรรมการเรียนรู้ขององคืกร 3) การเพิ่มอำนาจและความรับผิดชอบในงาน 4)การสร้างและถ่ายโอนความรู้ 5)เทคโนโลยีการเรียนรู้ขององค์กร 6)บรรยากาศที่สบับสนุน และ 7) การทำงานเป็นทีม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิจากการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และแลห่งข้อมูลทุติยภมิที่จำเป็น เช่น เอกสารขององค์กรกรณีศึกษา สถิติที่ใช้ในการศึกษา สถิติการใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสถิติไค-สแควร์ และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้ง 7 ปัจจัย มีความสัมพันธ์กับระดับการเป็นองค์แห่งการเรียนรู้ และระดับของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีควาสัมพันธ์กับระดับเป็นองค์กรเป็นองค์กรนวัตกรรม ขณะที่ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดองค์กรการเรียนรู้เพียง 6 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับระดับการเป็นองค์กรนวัตกรรม โดยเรื่องการเพิ่มอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในงานเป็นปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับเป็นองค์กรเป็นองค์กรนวัตกรรม
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)