รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ความสัมพันธ์ของการพยากรณ์อุปสงค์และการบริหารสินค้าคงคลัง
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การควบคุมสินค้าคงคลัง |
2. | สินค้าคงคลัง |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การพยากรณ์อุปสงค์ (Demand Forecasting) มีความสำคัญและส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการควบคุมปริมาณการถือครองสินค้าให้เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและมีตันทุนในการถือครองต่ำสุด จากการทำงานวิจัยภาคสนาม พบว่า ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาที่ผู้ประกอบการไทยมักประสบคือ การที่สินค้าที่ถือครองอยู่มักเป็นสินค้าที่ลูกค้าไม่ต้องการ ส่วนสินค้าที่มีอุปสงค์สูงมักมีไม่เพียงพอต่อการบริการลูกค้า ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ การขาดการเช็คสต็อกสินค้าอย่างสม่ำเสมอ การละเลยในการวิเคราะห์หาระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสม ตลอดจนความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ปริมาณความต้องการสินค้าของลูกค้า (นอกจากนี้ อาจมีสาเหตุมาจากการขาดการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ภายในโซ่อุปทาน เช่น ผู้จักหาวัตถุดิบและผู้ให้บริการขนส่งสินค้า ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในตอนนี้) โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าคงคลังแบ่งออกเป็น 2 กรรี ได้แก่
1.มีปริมาณสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้
1.1 ระดับการให้บริการต่ำลง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้า
1.2ลูกค้าเลิกคำสั่งซื้อ
1.3ลูกค้าเปลี่ยนไปซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการอื่น
2.มีปริมาณสินค้ามากเกินความต้องการ ส่งผลให้
2.1 พื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอต่อปริมาณสินค้า
2.2ต้นทุนถือครองสินค้าคงคลังสูง
2.3มีปริมาณสินค้าคงคลังประเภท Dead Stock มาก ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่มีอุปสงค์ หรือหมดอายุ/ตกรุ่น
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)