รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
กลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพ ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | เยาวภา ปฐมศิริกุล |
2. | สุดาพร สาวม่วง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบริการพยาบาลของโรงพยาบาล |
2. | การบริการทางการแพทย์ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาโมเดลกลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 820 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติทดสอบสมมติฐาน ประกอบสถิติวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุ (Path analysis)
และสถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลกลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานของโรงพยาบาลประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยจิตวิทยาของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลและปัจจัยการตลาดบริการสุขภาพ โดยปัจจัยจิตวิทยาที่สำคัญมากที่สุดคือทัศนคติต่อสุขภาพและโรงพยาบาล รองลงมา ได้แก่ ประสบการณ์การใช้บริการสุขภาพและการมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ใสใจสุขภาพ ส่วนปัจจัยการตลาดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนพบว่าปัจจัยที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ กลยุทธ์กระบวนการบริการ (Process Strategy) กลยุทธ์บุคลากร (People Strategy) กลยุทธ์การจัดการประสิทธิภาพและคุณภาพ (Productivity and Quality Strategy) กลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM Strategy) กลยุทธ์ราคา (Price Strategy) และกลยุทธ์ช่องทางจัดจำหน่าย (Place/Channel Strategy) ตามลำดับ กลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานของโรงพยาบาลด้านความพึงพอใจต่อการบริการมากที่สุด รองลงมาคือ ภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาลูกค้า การแนะนำบอกต่อการใช้บริการ การกลับมาใช้บริการซ้ำ และยอดขายที่เติบโตขึ้นของโรงพยาบาล
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)