หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทฤฏีสรรคนิยมที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม
ชื่อเรื่องรอง
Effects of Instruction Using Constructivist Theory on Learning Achievement, Critical Thinking Abilities and Satisfaction towards The Instruction of Students in Multicultural Society
ชื่อผู้แต่ง
1.
กัฟละห์ มาโซ
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.
ทฤษฎีสรรคนิยม
หัวเรื่องควบคุม
1.
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน -- วิจัย
2.
ความคิดและการคิด -- การศึกษาและการสอน
3.
นักเรียน -- ทัศนคติ -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎี สรรคนิยมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการติดต่ออย่างมีวิจารณญาณ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 โรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ อำเภอ เมือง จังหวัด ยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 45 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีสรรคนิยม เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิจารณญาณแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนแบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย ได้ดำเนินการทดลองตามรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนรู้โดยสังเกตจากพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรคนิยมทำให้นักเรียนสามารถเสาะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถนำเสนอสิ่งที่ค้นพบให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสามารถยอมรับความแตกต่างของกันและกันและนักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข 2. นักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรคนิยมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนมรความพึงพอใจของต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรคนิยม อยู่ในระดับมาก
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ปีที่
12
ฉบับที่
1
หน้าที่
98 - 115
ปีพิมพ์
2555
ชื่อสำนักพิมพ์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1513-9514
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)