หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวงัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
ชื่อเรื่องรอง
Reasoning Thinking of Young Children Participated in Constructivist Learning Activities
ชื่อผู้แต่ง
1.
ญาดา ช่อสูงเนิน
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.
ความคิดและการคิด
2.
ความคิดและการคิด -- การศึกษาและการสอน (ปฐมวัย)
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยทำการทดลองด้วยตนเอง โดยทำการทดลอง สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 – 30 นาที รวมระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่อมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ และแบบทดลอง One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้ค่าเฉลี่ย t-test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า หลังจากที่เด็กปฐมวัยได้รับการจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เด็กปฐมวัยมีการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมสูงกว่าก่อนทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ จำแนกเป็นรายด้าน ผลปรากฏว่า ด้านการเรียงลำดับสูงเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านการจำแนกประเภท ด้านการสรุปความ และด้านการอุปมาอุปไมย ตามลำดับ คำสำคัญ : เด็กปฐมวัย, การคิดเชิงเหตุผล, การจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรีคติวิสต์ 1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชายหญิงอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 24 คน 2. การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆของเด็กปฐมวัยโดยใช้หลักการและข้อเท็จจริง รวมทั้งประสบการณ์มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคิดหาคำตอบเพื่อหาข้อสรุปหรือคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งวัดได้ด้วยแบบทดลองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จำแนกการคิดเชิงเหตุผลออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 2.1 การจำแนกประเภทเป็นพฤติกรรมในการจัดสิ่งต่างๆโดยยึดเกณฑ์โครงสร้างหน้าที่ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติเฉพาะเป็นหลักในการเปรียบเทียบเพื่อจัดกลุ่มจำแนก ซึ่งสามารถบอก หรืออธิบายเกณฑ์ที่ใช้จำแนกสิ่งนั้นๆได้ 2.2 การเรียงลำดับ เป็นพฤติกรรมในการรับรู้กฎเกณฑ์ หรือหาระบบความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่กำหนด แล้วสามารถตอบได้ว่าสิ่งต่อไปควรเป็นอะไรโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ดับภาพในระบบ ซึ่งสามารถบอกหรืออธิบายหลักที่ใช้ในการจัดระบบได้ เป็นพฤติกรรมในการจัดลำดับความต่อเนื่องของคุณลักษณะ เหตุการณ์ ซึ่งสามารถบอก หรืออธิบายเหตุผลของการจัดลำดับความต่อเนื่องได้ 2.3 การอุปมา อุปไมย เป็นพฤติกรรมในการหาความสัมพันธ์ว่าสิ่งที่กำหนดให้ มีความสัมพันธ์กับสิ่งใด โดยสามารถบอกหรืออธิบายถึงความสัมพันธ์นั้นได้ 2.4 การสรุปความ เป็นพฤติกรรมในการหาข้อสรุปผลจากการพิจารณาสิ่งที่กำหนดให้ โดยสามารถบอกและอธิบายเหตุผลที่ใช้ในการลงข้อสรุปได้ 3. การจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคตวิสต์ หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยที่เด็กจะเป็นผู้เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง การจัดตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ จะมุ่งเน้นให้เด็กสร้างความรู้ใหม่ สร้างกระบวนการความรู้ด้วยตัวเองและเรียนรู้จากกันและกัน ในการทำกิจกรรมเป็นกลุ่มเด็กจะได้พูดคุย แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน การจัดประสบการณ์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์จะต้องเปิดโอกาสในกับเด็ก สังเกต ซักถาม ค้นคว้าหาคำตอบ สรุปและอภิปรายผล เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับความรู้ที่ได้ค้นพบจากทดลองหรือที่เกิดขึ้นหลังการทดลอง โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อและส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ปีที่
12
ฉบับที่
1
หน้าที่
83 - 97
ปีพิมพ์
2555
ชื่อสำนักพิมพ์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1513-9514
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)