รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552
ชื่อเรื่องรอง An Evaluation of The Curriculum of Mahidol Wittayanusorn School B.E. 2552
ชื่อผู้แต่ง
1.สุภา นิลพงษ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การประเมินหลักสูตร -- วิจัย
2.โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ -- หลักสูตร -- การประเมิน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์พุทธศักราช 2552 ใน ถ ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านประสิทธิผล และด้านผลกระทบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจปรับปรุงแก้ไข หรือดำเนินการใช้หลักสูตรต่อไป แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ รวม 565 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารหลักสูตร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และความเบี่ยงเบน ผลการวิจัยพบว่า 1.ด้านบริบท 1.1 จุดมุ่งหมายของหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552 มีความสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของสังคมไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ในระดับมากที่สุด 1.2 โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหารายวิชามีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552 ในระดับมากที่สุด 2.ด้านปัจจัยนำเข้า 2.1 ผู้บริหารมีความคิดเห็นว่า ความพร้อมและศักยภาพของครูผู้สอนและสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สำหรับด้านแหล่งการเรียนรู้ และงบประมาณผู้บริหารมีความเห็นว่า มีความหลากหลาย ความเพียงพอ และความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 2.2 ครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่า ความพร้อมและศักยภาพของครูผู้สอน สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ และงบประมาณ มีความเหมาะสม และความเพียงพอ อยู่ในระกับมาก 2.3 นักเรียนมีความคิดเห็นว่า ความพร้อมและศักยภาพของครูผู้สอน สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ มีความเหมาะสม และความเพียงพอ อยู่ในระดับมาก 3.ด้านกระบวนการ 3.1 ผู้บริหารมีความคิดเห็นว่า การปฏิบัติของครูในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก สำหรับด้านการวางแผนการเตรียม ความพร้อมและการบริหารหลักสูตร ผู้บริหารมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยูในระดับมากที่สุด 3.2 ครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่า การปฏิบัติของครูในด้านการกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการวางแผนการเตรียมความพร้อมและการบริหารหลักสูตร มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 3.3 นักเรียนมีความคิดเห็นว่า การปฏิบัติของครูในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดผลและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ 4.ด้านประสิทธิผล จากฐานข้อมูลของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับสูงมาก โดยนักเรียนร้อยละ 81.97 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 3.50 สำหรับความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร้อยละ100 ได้รับการประเมินว่ามีความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียนอยู่ในระดับสูงกว่า 3.50 ในทุกด้าน ในขณะเดียวกันนักเรียนร้อยละ 99.59 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สูงกว่า 3.50 ในทุกด้าน เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือร้อยละ 80 นอกจากนี้ผู้บริหาร ครูผู้สอนและนักเรียน ยังได้ประเมินเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักเรียนตามอุดมการณ์และเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียน โดยการตอบแบบสอบถามที่มีมาตรประเมินค่า 5 ระดับ พบว่าทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน ความคิดเห็นว่า นักเรียนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีคุณลักษณะตามอุดมการณ์และเป้าหมายในการพัฒนานักเรียนทั้ง 23 ข้อในระดับมากทุกข้อ 5.ด้านผลกระทบของหลักสูตร 5.1 ผู้บริหารมีความคิดเห็นว่าการใช้หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์พุทธศักราช 2552 มีผลกระทบต่อการพัฒนาครูผู้สอน สื่อการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก สำหรับงบประมาณ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลประเมิน การบริหารจักการหลักสูตร นำความรู้ความสามารถของนักเรียน และคุณลักษณะของนักเรียน มีผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง 5.2 ครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่าการใช้หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552 มีผลกระทบต่อการพัฒนาครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก สำหรับด้านอื่นๆ ครูผู้สอนเห็นว่ามีผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง 5.3 นักเรียนมีความคิดเห็นว่าการใช้หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552 มีผลกระทบอยูในระดับมากทุกด้าน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ปีที่ 12
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 65 - 82
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1513-9514
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)