รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาตังบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
|
ชื่อเรื่องรอง |
Development of Indicators and Evaluation Crireria of Learning Organization Qualifications of Prince of Songkla University, Hat Yai Campus
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะการเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนในการดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and development) แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์และสังเคราะห์ จากเอกสารแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยเกี่ยวข้องเพื่อการกำหนดกรอบคุณลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก และ 21 องค์ประกอบย่อย ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยอาศัยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จากตัวแทนกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มคณาจารย์ กลุ่มบุคคลกร ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการระบบบริหารความรู้หรือการจัดการความรู้ ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จำนวน 16 คน โดยการตรวจสอบความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ และความเป็นไปได้ในการนำตัวบ่งชี้ไปใช้ประเมินความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การกำหนดคะแนนเกณฑ์การประเมิน (Cut-off scores) ของตัวบ่งชี้ การประเมินคุณลักษณะ ทั้ง 5 องค์ประกอบหลัก และ 21 องค์ประกอบย่อย มีตัวบ่งชี้ที่ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์ที่กำหนดรวมทั้งสิ้น 170 ตัวบ่งชี้และมีคะแนนเกณฑ์การประเมินครบในทุกองค์ประกอบย่อย และขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ตัวบ่งชี้การประเมินเพื่อตรวจสอบความเชื่อมั่นของตัวบ่งชี้คุณลักษณะ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 คน จากบุคลากร 8 ประเภท คือ ข้าราชการสายวิชาการ ข้าราชการสายสนับสนุน พนักงานมหาวิทยาลัยเงินงบประมาณสายวิชาการ พนักงานมหาวิทยาลัยเงินงบประมาณสายสนับสนุน พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้สายวิชาการพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้สายสนับสนุน ลูกจ้างประจำ และพนักงานเงินรายได้ในสังกัด คณะและโครงการจัดตั้งจาก 16 หน่วยงาน ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เฉพาะวิทยาเขตหาดใหญ่ ประจำปี พ.ศ. 2554 ผลการตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ในแต่ละองค์ประกอบหลัก พบว่าด้านองค์กรมีค่าเท่ากับ .865 ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีค่าเท่ากับ .839 ด้านการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ .756 ด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ .869 และด้านเทคโนโลยีมีค่าเท่ากับ .848 ซึ่งถือได้ว่าตัวบ่งชี้การประเมินทุกด้านมีความเชื่อมั่นที่จะนำไปใช้ได้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)