รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามการรับรู้ของชุมชนท้องถิ่นอำเภอหาดใหญ่
|
ชื่อเรื่องรอง |
Image of Prince of Songkla University as Perceived by the Local Hat Yai Community
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ภาพลักษณ์องค์การ |
2. | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของชุมชนและภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตามการรับรู้ของชุมชนท้องถิ่นอำเภอหาดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารท้องถิ่น นักธุรกิจ สื่อมวลชนและกลุ่มประชาชนทั่วไป ในและนอกเขตเทศบาลอำเภอหาดใหญ่ จำนวน 402 คน แบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่า 1.พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสาร พบว่า ร้อยละ 94 เคนได้รับข่าวสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย และร้อยละ 92.1 ได้รับจากสื่อของมหาวิทยาลัยกลุ่มตัวอย่างหนึ่งในสาม มีความถี่ในการรับข้อมูลข่างสาร 1-3 สัปดาห์/ครั้ง จากสื่อของมหาวิทยาลัย พบว่า ร้อยละ 69.5 ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถานีวิทยุ ม.อ. FM 88 MHz รองลงมาเป็น คัทเอาท์/ป้ายผ้า เว็ปไซต์ แผ่นผับ และโปสเตอร์ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 33-42.2 การรับรู้ข่าวสารของมหาวิทยาลัยจากสื่อทั่วไป ร้อยละ 46.1 ได้รับจากสื่อวิทยุ โดยสื่อหนังสือโทรทัศน์ สื่อบุคคล กลุ่มประชากรได้รับในอัตราที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 18.9 ,18.2,17.9 ตามลำดับ 2.ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยภาพลักษณ์ด้านตัวองค์กรมีคะแนนสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีคะแนนต่ำสุด จึงควรพัฒนาบทบาทด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้มีความเด่นชัดขึ้นและควรส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ผลงงานของมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)