รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาและการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายวิจัยการศึกษา : ภาคใต้ตอนบน
ชื่อเรื่องรอง Strategies for Developing and Driving the Development of students'Desired Characters Using Educational Research Network: Upper Southern Part
ชื่อผู้แต่ง
1.วสันต์ อติศัพท์
2.คณิตา นิจจรัลกุล
3.ชิดชนก เชิงเชาว์
4.อาฟีฟี ลาเต๊ะ
5.บุญญิสา แซ่หล่อ
6.สนั่น เพ็งเหมือน
7.วัฒนะ พรหมเพชร
8.เปรมวดี โกมลตรี
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การพัฒนาการศึกษา -- ไทย (ภาคใต้)
2.นักเรียน -- การศึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การพัฒนาและการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายวิจัยการศึกษา : ภาคใต้ตอนบน การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบวิจัยและพัฒนาทำการศึกษากับโรงเรียนนำร่องในภาคใต้ตอนบน ปีการศึกษา 2550 จำนวน 8 จังหวัด รวม 10 โรงเรียน นักเรียน 2,471 คน ผู้ปกครองของนักเรียน 2,258 คน ผู้บริหาร 23 คน และครูนักวิจัยจำนวน 228 คน นักวิจัยเครือข่ายระดับจังหวัด 3 คน นักวิจัยเครือข่ายระดับภูมิภาคสถาบันอุดมศึกษาในโครงการ จำนวน 8 คน ผู้บริหารขากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 7 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสำหรับวัดระดับคุณลักษณ์ มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.95-0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทั้งวิธีทางสถิติและการวิเคราะห์เนื้อหา กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนมีผลการวิจัย ดังนี้ 1)มีการพัฒนานวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาด้านคุณธรรม ด้านสังคม ด้านการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและมีรูปแบบหลากหลาย 2)ภายหลังการใช้นวัตกรรมคุณลักษณ์ศึกษาทั้ง 3 ด้าน บูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรทำให้ 2.1)นักเรียนเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการพัฒนาตนเองด้านคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนและเพื่อนนักเรียน 2.2)ครูและผู้ปกครองเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนอย่างมีทิศทางโดยมีส่วนร่วมในการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียนและที่บ้านที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณ์ที่กำหนดในด้านคุณธรรม ด้านสังคม ด้านการเรียนรู้ และ 2.3)ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง นักเรียน เพื่อนนักเรียน และนักเรียนเครือข่ายระดับจังหวัดและท้องถิ่นได้รับการเสริมพลังอำนาจในการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนจากทีมวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายวิจัยการศึกษาระดับภูมิภาค และ3) สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายวิจัยการศึกษาระดับภูมิภาค สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายวิจัยการศึกษาระดับจังหวัด และสถานศึกษาเครือข่ายวิจัย การศึกษาระดับท้องถิ่นร่วมแสวงหากลยุทธ์ วางแผนการพัฒนา และกลยุทธ์การขับเคลื่อนด้วยการเสริมพลังอำนาจการพัฒนาคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนักเรียนทำให้เกิดเครือข่ายวิจัยการศึกษาที่เข้มแข็ง
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ปีที่ 17
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 421 - 438
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-1113
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)